โรคข้อเข่าเสื่อม Siamhealth ตามหลักแล้วจะมักพบในหญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป และพบการเสื่อมสภาพของหัวเข่ามากขึ้นในนักฟุตบอลคนวัยทำงาน นักวิ่ง ที่ใช้หัวเข่ามากหรือมีอาการบาดเจ็บที่เข่าบ่อยๆ ข้ออักเสบจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน โรคไขข้ออักเสบเกาต์ นั่งยอง ๆเป็นเวลานาน, หัวเข่าเสื่อม เนื่องจากอุบัติเหตุ และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล, การสูบบุหรี่, การใช้ยาที่มีสเตียรอยด์
สารบัญเนื้อหา
โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นมาจาก
เกิดจากกระดูกอ่อนที่คอยช่วยดูดซับแรงกระแทกที่หัวเข่าและป้องกันมาการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ในกรณีที่กระดูกอ่อนนี้เสียหายในบริเวณกว้าง กระดูกในหัวเข่าจะถูกันเอง ทำให้เกิดการอักเสบและปวดอย่างมาก โดยทั่วไปการเสื่อมของข้อต่อมักเริ่มจากด้านในของหัวเข่าก่อน เมื่อมีการสึกหรอเพิ่มขึ้นมันจะเสื่อมสภาพทั้ง 3 ข้อต่อย่อย ได้แก่ ผิวหนังชั้นใน ผิวด้านนอกและปิดท้ายด้วยด้านหลังของกระดูกสะบ้า
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
1) ความผิดปกติทางพันธุกรรมและกรรมพันธุ์บางอย่าง เช่น ความผิดปกติของขาหรือหัวเข่าที่ผิดรูป
2) อายุและเพศที่มากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนก็ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชายในวัยเดียวกัน
3) น้ำหนักตัวมาก (BMI มากกว่า 23 กก./ม.2)
4) ประวัติอาการบาดเจ็บที่เข่าซึ่งส่งผลให้มีโอกาสสูงในการพัฒนาโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งอาจเป็นผลมาจาก
4.1) การบาดเจ็บถึงแม้ว่าร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองหลังจากได้รับบาดเจ็บโครงสร้างข้อเข่าอาจไม่แข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน
4.2) รับการรักษาอย่างไม่ถูกต้อง
5) ใช้หัวเข่าซ้ำ ๆ หรือท่าทางที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น คุกเข่าหรือนั่งยองๆ ซึ่งทำให้เข่าได้รับแรงกดดันนานกว่าปกติเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง
6) โรคไขข้ออักเสบ เช่น โรคเกาต์ รูมาตอยด์ ทำให้กระดูกอ่อนถูกทำลายจนหมดไป ทำให้เกิดอาการปวดและตึงตามมา
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 แบบ
1.รักษาโดยไม่พึ่งการผ่าตัด
1.1) การเปลี่ยนวิถีชีวิตระจำวัน รวมถึงการกินอาหารที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักร่างกาย ออกกำลังกายเป็นประจำในระดับที่มีผลกระทบต่ำ เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เดินเพื่อเสริมสร้างข้อต่อข้อเข่า
1.2) ทำให้ร่างกายนั้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
1.3) ทานยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
2.4) การฝึกกล้ามเนื้อต้นขาและกายภาพบำบัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
2.1) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านเดียว (Unicompartmental Knee Replacement: UKR)
2.1.1) การผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน
2.1.2) การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้านเดียว ชนิด Oxford
2.1.3) การผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (MAKOplasty)
2.2) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Replacement: TKR)
2.2.1) การผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน
2.2.2) การผ่าตัดด้วยการใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี
2.2.3) การผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (MAKOplasty) – กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
การรักษาแต่ละรูปแบบจะถูกวินิฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยมากที่สุด ส่วนใครที่เริ่มมีอาการปวดเข่าแบบไม่ทราบสาเหตุ ทางเราก็อยากแนะนำให้เข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดเข่า