เนื่องจากว่าเป็นโรคที่ไม่สามารถกำหนดให้เกิดขึ้นเองได้
แถบจะเกิดขึ้นตอนไหนบ้างก็ไม่สามารถรู้ได้ ทางแพทย์จึงออกมาแนะนำว่าผู้ป่วยโรคลมชักนั้นไม่ควรที่จะขับรถยนต์ด้วยตัวเอง เนื่องจากมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุที่สูง ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าในปี 2019 ผู้ป่วยลมชัก 90% ยังคงขับรถโดย 56% มีอาการชักโดยไม่รู้ตัวและเกือบ 60% ของผู้ที่ป่วยที่มีอาการชักในขนาดที่ขับขี่รถแบบนี้ยังคงขับรถต่อ
โรคลมชัก และอันตรายที่เกิดขึ้นขณะขับรถ
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2559 มีการตรวจพบว่า 75% ของผู้ป่วยที่ยังขับรถด้วยตัวเอง 30% เคยเกิอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถ และ 60% สาเหตุมาจากเกิดอาการลมชักขนาดขับขี่ ข้อมูลล่าสุดตอนนี้ ปี2562 พบว่า 90% นั้นยังคบขับรถอยู่และใน 90%นี้ มีอาการโรคลมชักขนาดขับรถมากถึง 56 % มีอาการชักแบบไม่รู้สติและ เกือบ 60% และ30% เกิดอาการชักในระหว่างขัยรถและยังขับรถต่อโดยที่ไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตามขณะนี้ในประเทศไทยอยู่ในระหว่างดำเนินการออกกฎหมายใบขับขี่กับผู้ป่วยโรคลมชักเพื่อความปลอดภัยสำหรับตัวผู้ป่วยและผู้อื่นที่ใช้รถบนท้องถนน ดังนั้นผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรขับรถยนต์อย่างน้อยกว่า 1 ปีเนื่องจากเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา
โรคลมชักอันตราย แต่สามารถควบคุมได้
โรคลมชักเป็นโรคทางระบบประสาทที่สามารถพบได้บ่อย ผลกระทบสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งตัวคุณเองและผู้อื่นได้ แนวทางของผู้ป่วยโรคลมชักต้องระวังกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายในระหว่างการชัก เช่นการ ขับรถยนต์ การปีนสูง และว่ายน้ำเป็นต้น โรคลมชัก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของการทำงานของเซลล์สมอง เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้เวลาที่ยาวนาน ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องรับประทานยากันชักเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหยุดอาการชักและระวังการทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นในขณะเกิดอาการชัก
สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการชักที่ถูกต้องและง่ายต่อการจดจำ คือ “ไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กดให้ทั้งหมดนั้นหยุดชักเอง ผู้ป่วยโรคลมชักจะมีภาวะชักเกร็ง กระตุกไม่เกิน 2 นาที หากชักนานถึง 5 นาที ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้