อากาศที่เราหายใจไม่ใช่อากาศบริสุทธิ์ เนื่องจากมีฝุ่นละอองขนาดเล็กเช่น PM2.5 รวมถึงเชื้อโรคและสารปนเปื้อนต่าง ๆ มากมายที่มองไม่เห็น ซึ่งโดยทั่วไปจมูกของเรามีขนที่ช่วยกรองฝุ่นก่อนเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจทำให้ร่างกายไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ในประเทศไทยมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ PM2.5 ซึ่งจมูกไม่สามารถกรองฝุ่นละอองนี้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้ต้องหาทางหลีกเลี่ยงและป้องกัน เพราะอาจเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ
สารบัญเนื้อหา
PM2.5 เกิดจาก
เจ้า PM 2.5 ที่เราได้ยินนั้น หมายถึงฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่าเส้นผมของเราถึง 30 เท่าส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดเจ้าฝุ่นละอองเล็กจิ๋วขนาดนี้นั้นมาจากแห 2 แหล่งกำเนิดใหญ่ๆนั้นก็คือ
1) แหล่งที่มาโดยตรง ได้จากการเผาไหม้ในที่เปิดโล่ง การขนส่ง การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้า
2) การรวมกันของก๊าซอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศ เจาะจงไปที่ 2 ตัวหลักอย่าง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เช่นเดียวกับสารพิษอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์เช่นสารปรอท (Hg), อาร์เซนิก (As) , แคดเมียม (Cd) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
PM2.5 คืออะไร อัตรายจริงไหม
PM2.5 เป็นฝุ่นละออกเล็กๆที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนซึ่งเทียบเท่ากับ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นผมเรา ถึงแม้ว่าเรานั้นจะมีขนจมูกเล็กๆ ที่เปรียบเสมือนเครื่องกรองฝุ่น แต่กับไม่สามารถกรองเจ้าละอองฝุ่น PM 2.5 นี้ได้ ดังนั้นมันจึงสามารถแพร่กระจายไปยังทางเดินหายใจกระแสเลือดและวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ง่ายกว่าฝุ่นปกติ ที่สำคัญฝุ่นละอองตัวนี้เป็นยานขนส่งที่มีสารอื่นๆติดเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็น โลหะหนัก ปรอท แคดเมียม และสารก่อมะเร็งอื่นๆ
pm2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพ ที่คุณควรรู้
ร่างกายของคนปกติที่แข็งแรงเมื่อสัมผัสกับฝุ่น PM2.5 อาจไม่ได้รับผลกระทบตั้งแต่แรกเห็น แต่ถ้าได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือสะสมในร่างกาย ในที่สุดก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายตามมาภายหลัง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นผลกระทบทางกายภาพและผลกระทบผิว
ผลกระทบทางสุขภาพ
1) ผู้ที่แพ้ฝุ่นละอองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว (โรคภูมิแพ้) จะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
2) มีอาการ ไอ จาม หรือภูมิแพ้
3) โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
4) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
5) โรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด
ผลกระทบทางผิวหนัง
1) มีผื่นคันตามตัว
2) มีอาการปวดแสบปวดร้อน ระคายเคืองบริเวณผิวหนัง
3) 5 สามารถทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอและเหี่ยวย่นง่าย
4) เป็นลมพิษ ถ้ามันหนักมากอาจเกิดลมพิษในบริเวณขาหนีบ
วิธีป้องกัน ฝุ่น PM2.5
1) สวมหน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่นเนื่องจากได้รับมาตรฐานว่าสามารถป้องกันได้
2) ใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น ที่ข้างกล่องระบุว่าสามารถป้องกัน PM 2.5 ได้
3) หากไม่มีหน้ากาก N95 หรือ หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น เราก็สามารถใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้นได้
4) ไม่เดินเข้าหาฝุ่นควัน พยายามหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด
5) ใช้เครื่องฟอกอากาศ ถึงแม้ว่าจะหลบเข้ามาอยู่ภายในอาคารแล้วก็ตาม เราก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้