สารบัญเนื้อหา
วิธีป้องกัน โรคซึมเศร้า
เราจะสามารถสังเกตุได้อย่างไร ว่าคนรอบข้างที่เราอยู่ใกล้ๆนั้น กำลังเริ่มป่วยเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ เมื่อก่อนโรคนี้ไม่ได้เป็นที่สนใจมากนัก เพราะยุคก่อนคิดว่าเป็นเพียงโรคที่ป่วยทางจิต แต่ด้วยเวลาที่ผ่านมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะผู้คนสังคนในเมืองนั้น มีทั้งเรื่องความกดดันจากที่ทำงาน การที่ต้องเป็นผู้นำ หรือแม้การที่ต้องทำหน้าที่หลายๆอย่างพร้อมกัน จึงทำห็โรคร้ายพวกนี้พรากชีวิตคนให้จมดิ่ง สู่ความตายมาแล้วนับไม่ถ้วน เพราะฉะนั่นควรหันมาดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองเป็น “โรคซึมเศร้า”
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสาเหตุอะไร
สาเหตุของความผิดปกติของการเป็นโรคซึมเศร้า เกิดจาก ร่างกายและชีวภาพเช่นสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล การเจ็บป่วยทางร่างกายบางอย่างการใช้ยาหรือยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน
ด้านจิตวิทยาจิตใจ เช่นทักษะการปรับตัวต่อปัญหา การจัดการความเครียดและบุคลิกภาพ นอกจากนี้ปัจจัยทางสังคมเช่นการสูญเสียคนใกล้ชิด กับความเครียด หรือมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นต้น
อาการซึมเศร้าไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ไม่แปลว่าเป็นคนโรคจิต หรือเป็นโรคทางจิต ความจริงแล้วเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการใช้ยารักษาภาวะซึมเศร้าหรือยาเพื่อปรับสารเคมีในสมอง ส่วนด้านจิตใจ ควรมีการสนทนากับคนใกล้ชิดเพื่อขอความช่วยเหลือ ปัญหาควรดึงครอบครัวหรือคนใกล้ชิดให้เข้าร่วมรวมเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบตัวเอง เป็นต้น
วิธีรับมือ”โรคซึมเศร้า”
1.เรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเอง
ฝึกฝนเริ่มที่จะสำรวจตัวเอง เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับตัวคุณ และฝึกฝนการยอมรับสิ่งที่เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวเรา เพื่อช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ที่น่าผิดหวัง รู้ว่าจะขอบคุณตัวเองและแสดงความภาคภูมิใจของคุณเสมอ เมื่อทำสิ่งที่ดีกับชีวิตก็จะมีควาสุขมากขึ้น เพียงจัดการกับมันคุณจะรู้สึกสบายใจขึ้นไปอีก
2. ควรมีอารมณ์ขันหรือหัวเราะให้มากขึ้น
เมื่อทุกข์ควรพาตัวเองไปหาอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกดีไม่ว่าจะเป็นการดูหนังตลกหรืออ่านเรื่องตลกหรือพูดคุยกับเพื่อนในเรื่องตลกสนุกสนานเพื่อช่วยบรรเทาความเครียดแค่นี้ก็สามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ในใจได้แล้ว
3.รู้จักระบายความรู้สึก
ควรเรียนรู้ที่จะหาวิธีที่จะปลดปล่อยความรู้สึกเศร้า ความโกรธหรือเสียใจ เพราะความซึมเศร้ามักเกิดจากอารมณ์ของเราเองเราสามารถทำได้โดยการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ ตะโกน หรือการที่เราร้องไห้ออกมาดัง ๆ หรือเขียนความรู้สึกในสมุดบันทึก
4. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยในการต่อต้าน “อาการซึมเศร้า” สามารถทำได้เพราะการออกกำลังกายจะเพิ่มระดับเคมี “เซโรโทนิน” ในสมองและเพิ่มการหลั่งของเอนโดรฟินที่ช่วยในการผ่อนคลายและปรับปรุงอารมณ์ นอกจากนี้ยังช่วยในการปรับปรุงสุขภาพด้านอื่นๆ ให้ดีขึ้นด้วย
5. ออกไปข้างนอก ออกไปเที่ยว เริ่มสัมผัสธรรมชาติให้มากขึ้น
เธอรู้รึเปล่า? การเดินทางท่องเที่ยวถือเป็น “ยาดี” สำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เพราะมันเป็นการหลบหนีจากสภาพแวดล้อมดั้งเดิม ที่ทำให้คุณรู้สึกเบื่อและเศร้า ฯลฯ เปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ที่สดใสและสิ่งใหม่ ที่ทำให้นั้นมีพลังมากขึ้น การได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ วัฒนธรรมใหม่ คนใหม่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความเครียด และบรรเทาความเศร้าได้แบบชัดเจน
6.หางานอดิเรกทำเล่นๆยามว่าง
หากมีความเครียดหรือเรื่องราวที่ทำให้คุณเศร้ามานาน ต้องพยายามสะบัดความรู้สึกเหล่านั้นออกไปแล้วไปหาสิ่งที่จะทำนั่นก็คือความคิดสร้างสรรค์การฝึกสมาธิ เพื่อเป็นงานอดิเรก
7.การคิดเชิงบวก
การมองโลกในแง่ดีสามารถช่วยลดความวิตกกังวล ซึ่งอาจเริ่มจากการฝึกการคิดในมุมมองเชิงบวก ฝึกฝนการมองวิชาต่าง ๆ รอบตัวในแง่บวกฝึกมองคนอื่นในแง่บวก และรู้จักคนอื่นถ้าเป็นไปได้มันจะเติมเต็มความสุขในชีวิตของคุณอย่างแน่นอน และอย่าลืมว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกอย่าลืมครอบครัวและเพื่อน คุณสามารถเปิดใจและพูดคุยกับพวกเขาได้ตลอดเวลา