อาหารติดคอนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มาขนาดไหนก็ต้องเป็นไปตมวัยเช่นกัน ผู้สูงอายุจัดอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยง อาหารติดคอ” มากกว่าวัยอื่นอื่นๆเพราะเป็นวัยที่น้ำลายในปากน้อยลง ทำให้อาหารนั้นสามารถที่จะติดคอได้ง่ายเวลากลืนนั่นเอง
วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย สำลักอาหาร-อาหารติดคอ
1.หากมีอาการหายใจไม่ได้ พูดไม่ออก ให้จับนอนหงายบนพื้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ยกปลายคางขึ้น และ อีกมือหนึ่งกดหน้าผากลง เป่าปากเพื่อช่วยในการหายใจ
2.หากเริ่มแสดงอาการทรมาน ไม่สามารถส่งเสียงได้ ลองทุบหลังตรงระหว่างไหล่ทั้งสองข้างก่อน 5 ครั้ง ด้วยแรงพอประมาณ หากอาหารยังลงไปไม่ลึกมาก วิธีนี้ก็อาจจะออกมาทางปากได้
3.กรณีที่เป็นเด็กเล็กให้ใช้วิธีตบระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง สลับกับกดหน้าอก และคอยตรวจเช็กช่องปาก ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมให้ใช้นิ้วเกี่ยวออกมา
4.หากผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัว พูดได้ และหายใจได้ตามปกติ แต่ยังรู้สึกว่ามีอาหารติดคออยู่ ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
5.ทั้งหมดนี้ควรรีบทำภายใน 3-5 นาทีที่แสดงอาการ เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีป้องกันการสำลักอาหาร-อาหารติดคอ
1.พยายามที่จะนั่งตัวตรงเวลาที่ทานอาหารเสมอ และหลังจากที่ทานอาหารเสร็จแล้วก็ไม่ควรที่จะนอนทันที
2.ทุกครั้งที่ทานอาหารควรเคี้ยวช้าๆ เพื่อให้อาหารละเอียด
3.ในช่วงที่มีอาการเหนื่อยอยู่ไม่ควรที่จะรีบทานอาหารเข้าไป ควรพักให้หายเหนื่อยก่อนวัก 30 นา
4.ไม่ควรทานอาหารที่มีคำใหญ่เกินไป การแบ่งทานเป็นชิ้นๆพอดีคำ สามารถที่จะเลี่ยงอาหารติดคอได้
5.เลี่ยงการพูดคุยและการเดินในช่วงที่กำลังทานอาหาร
6.พยายามที่จะทานน้ำซุปสลับกับการทานอาหารอย่างเดียวเสมอ
7.ไม่แนะนำให้ทานอาหารที่ไม่มีซอสหรือซุปในอาหาร อาหารที่แห้งมากเกินไปมักเป็นสาเหตุของอาหารติดคอ