เมื่อไปซื้อยาที่ร้านขายยา เชื่อได้เลยว่าหลายคนนั้นค้องเคยได้ยินเภสัชกรแนะนำไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะทานยา แต่ก็ทำให้หลายคนนั้นไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ผลของการใช้ยาร่วมกับแอลกอฮอล์ เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไร เรื่องต่อไปนี้ที่คุณจะได้อ่านจะแก้ไขข้อสงสัยว่าทำไมแอลกอฮอล์และยาจึงไม่ควรกินด้วยกัน
สารบัญเนื้อหา
ปฏิกิริยาระหว่างยากับแอลกอฮอล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1) ปฏิกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamic Interactions)
หมายถึง ปฏิกิริยาที่เพิ่มผลข้างเคียงของยา อย่างเช่น ถ้ายาตัวหนึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน จากนั้นคุณดื่มแอลกอฮอล์ผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการมึนงง ง่วงนอนของยาจะเพิ่มขึ้น และทำให้คุณง่วงนอนมากขึ้นกว่าเดิม ปฏิกิริยานี้มักเกิดขึ้นเมื่อคุณดื่มแอลกอฮอล์พร้อมยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เช่น (ยาแก้แพ้) antihistamines
2) ปฏิกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic Interactions)
หมายถึงปฏิกิริยาที่มีผลต่อกระบวนการดูดซึมของยา หรือเรื่องของกระบวนการกำจัดยาออกจากร่างกายเรา เช่น ทำให้ร่างกายนั้นดูดซึมยาได้มากกว่าปกติ และทำให้ผลของยาแรงขึ้น หรือทำให้การกำจัดยาออกจากร่างกายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น มันจะทำให้ยาที่ทานไม่ได้ผลอย่างเต็มที่
ยาอะไรบ้างที่ทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์
ยาแก้แพ้ และยาแก้หวัด เกิดอาการง่วงซึม
ยารักษาอาการเจ็บหน้าอก เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงฉับพลัน วิงเวียน และหมดสติได้
ยารักษาโรควิตกกังวล และยารักษาโรคลมชัก เกิดอาการง่วงซึม วิงเวียน หายใจช้า
ยาปฏิชีวนะ เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงฉับพลัน อาเจียน หน้ามืด ปวดท้อง ปวดหัว อาจทำให้ตับเกิดความเสียหายได้
ยาเจือจางเลือด ทำให้เลือดลิ่มเลือดอุดตันมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ
ยาเจือจางเลือด เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว อาเจียน และความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงฉับพลันได้
ยาคลายกล้ามเนื้อ และยานอนหลับ เกิดอาการง่วงซึม วิงเวียน หายใจช้าหรือหายใจติดขัด
นอกจากนี้ยังมีตัวยาอีกมากกว่า 100 ชนิดที่ทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ได้ และยาแต่ละชนิดก็มีปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์ต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะถามแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาของแอลกอฮอล์ต่อยาที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้