โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่เกิดขึ้นมาจากภาวะการเสื่อมภายในของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่ผลิตโดพามีน (dopamine) ส่งผลให้โดพามีนลดลง ดังนั้นจึงทำให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของร่างกายในที่สุด ส่วนอาการที่สามารถสังเกตุได้ก็มีตั้งแต่ อาการที่แสดงออกทางร่างกาย ทางจิตใจ และอื่นๆที่เกิดขึ้นในหลายๆส่วน จะมีอาการอย่างไรบ้าง มาดูกันได้เลย
อาการของ โรคพาร์กินสัน แบ่งอออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
อาการทางกาย
1) หน้านิ่ง
2) เคลื่อนไหวช้า
3) พูดช้า เสียงค่อย
4) เดินลำบาก เดินซอยเท้า เท้าติดเวลาก้าวขา
5) ร่างกายแข็งเกร็ง
6) น้ำลายไหล
7) สั่น
8) หกล้มง่าย
อาการทางจิตใจ
1) วิตกกังวลกับเรื่องเล็กน้อย
2) เริ่มมีอาการของโรคซึมเศร้าที่ผิดปกติ
อื่นๆ
1) ท้องอืด ท้องผูก
2) เหงื่อออกมาก
3) การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี
4) มึนศีรษะเวลาลุกขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลง
5) ปัสสาวะบ่อย ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้
6) ความจำระยะสั้นไม่ดีในระยะแรก ความจำเสื่อมในตอนท้าย
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
ตอนนี้ทางการแพทย์ก็ยังไม่สามารถที่จะระบุออกมาอย่างชัดเจนว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดมาจากปัจจัยไหนกันแน่ แต่ก็มีความเชื่ออย่างสูงว่า โรคพาร์กินสัน เกิดขึ้นมาจาก 2 ปัจจัยหลักนั้นก็คือ
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม ในผู้ที่มียีนผิดปกติความเสี่ยงของการพัฒนาพาร์กินสัน อาจอยู่ในกลุ่มของผู้เสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าคนธรรมดา
2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างในระยะยาว ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือรับประทานอาหาร แต่ก็ยังไม่รู้ว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีปฎิกิริยาที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันขึ้นมาได้
วิธีการรักษา โรคพาร์กินสัน
ตามความเป็นจริงแล้ว ในปัจจุบันทางการอพทย์นั้นไม่สามารถที่จะรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดได้ เป็นเพียงแค่วิธีการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเท่านั้น ซึ่งก็จะมีวิธีรักษาทั้งหมดดังนี้
1) รักษาด้วยวิธีการใช่ยา จะถูกรักษาตามอาการของผู้ป่วย โดยจะจัดยาที่เข้าไปกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีนแบบเจาะจง
2) การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดนำเอาขั่วไฟฟ้าเข้าไปฝั่งเป็นรากเทียมเพื่อกระตุ้นสมอง ก่อนที่จะมาขึ้นตอนผ่าตัดจะต้องเป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสันซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการรักษาด้วยยามาก่อน แต่มีอาการมากขึ้นจนกระทั่งการรักษาด้วยยาไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงเข้าสู้กระบวนการผ่าตัด
ทุกอย่างจะเป็นเรื่องที่ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย หากรู้ว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวนั้นมีอาการเสี่ยง ของโรคพาร์คิมสัน ควรที่จะรีบนำตัวส่งโรงพยาบาทและปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาตั้งแต่เบื้องต้น