วันพุธ, มกราคม 20, 2021
  • Login
168HealthyCare
ADVERTISEMENT
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
HealthNews
No Result
View All Result

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) สาเหตุ การติดต่อ อาการ วิธีป้องกัน วิธีรักษา

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) สาเหตุ การติดต่อ อาการ วิธีป้องกัน วิธีรักษา
631
SHARES
ShareTweet

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B; HBV) คือ โรคตับอักเสบที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่บริเวณตับ และอาจก่อให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง จนนำไปสู่โรคร้ายที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น โรคตับวาย โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ สามารถติดต่อกันผ่านการได้รับสารคัดหลั่งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี นอกจากนี้โรคไวรัสตับอักเสบประเภทอื่นๆ ก็สามารถก่อให้เกิดอาการตับอักเสบได้เช่นกัน ปัจจุบันสามารถป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดนี้ได้ด้วยวัคซีน

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี มีสาเหตุเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ซึ่งเป็น DNA Virus ชนิดสายคู่ ในตระกูล Hepadnaviridae สกุล Orthohepadnavirus เป็นไวรัสที่ค่อนข้างทนทานเมื่อเทียบกับไวรัสชนิดอื่นๆ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้มีอาการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ เกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดผังพืดในตับ ส่งผลให้เกิดตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับได้

การติดต่อ

โรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งและเลือด จากการได้รับเลือดหรือได้รับส่วนประกอบของเลือดที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี การใช้ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนเลือดของผู้ติดเชื้อ เช่น การฉีดยา การสัก ฝังเข็ม และการเจาะหูโดยใช้เข็มร่วมกัน การใช้มีดโกนร่วมกัน รวมถึงติดต่อได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ และติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) สาเหตุ การติดต่อ อาการ วิธีป้องกัน วิธีรักษา 1

อาการ

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะมีระยะฟักตัวหลังได้รับเชื้อไวรัสประมาณ 6-26 สัปดาห์ จึงจะการแสดงอาการ อาการไวรัสตับอักเสบบีสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

  1. อาการไวรัสตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน

ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ติดเชื้อ ในวัยเด็กมักไม่มีการแสดงอาการ ในวัยผู้ใหญ่จะมีอาการหลังได้รับเชื้อไวรัสประมาณ 6-26 สัปดาห์ อาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ จะมีดังนี้

  • มีไข้
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด
  • ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง

ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีบางรายอาจมีอาการรุนแรง อาจเกิดอาการตับวาย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถหายเองได้ ผู้ป่วยส่วนน้อยประมาณ 5-10% ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกายจะเกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) สาเหตุ การติดต่อ อาการ วิธีป้องกัน วิธีรักษา 2

  1. อาการไวรัสตับอักเสบบีระยะเรื้อรัง

ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นระยะเวลานาน และภูมิคุ้มกันไม่สามารถกำจัดไวรัสชนิดนี้ออกจากร่างกายได้นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะเกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ  ส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการของโรค ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับการอักเสบของตับด้วย อาการไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถพบได้ในระยะเรื้อรังมีดังนี้

  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้อาเจียน หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง

วิธีป้องกัน

การป้องกันไวรัสตับอักเสบบีสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในกรณีที่เป็นเด็กแรกเกิด กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทยได้กำหนดในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไว้ว่า เด็กไทยทุกคนจะต้องได้รับวัคซีนตับอักเสบบีภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะการติดต่อจากแม่สู่ลูก นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ยังมีวิธีป้องกันอื่นๆ ดังนี้

  • ไม่ใช่เข็มฉีดยาหรือเข็มเจาะสักร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการฉีดยา การเจาะร่างกาย การสัก การฝั่งเข็ม หรือการเจาะหู เป็นต้น
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวที่มีการปนเปื้อนเลือดร่วมกันกับผู้อื่น เช่น มีดโกน
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) สาเหตุ การติดต่อ อาการ วิธีป้องกัน วิธีรักษา 3

วิธีรักษา

วิธีการรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดบีจะใช้วิธีการรักษาตามอาการ ซึ่งจะแบ่งวิธีรักษาโรคตามระยะอาการป่วย 2 แบบ คือ ระยะตับอักเสบเฉียบพลัน ระยะตับอักเสบเรื้อรัง

การรักษาตับอักเสบเฉียบพลัน

การรักษาในระยะนี้จะมีการรักษาตามอาการ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเองได้ ส่วนน้อยที่จะมีอาการรุนแรง จึงเน้นให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานในการจัดการไวรัสได้ การรักษาตามอาการจะมีดังนี้

    • อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย รักษาด้วยการให้พักผ่อนให้เพียงพอ
    • อาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร รักษาด้วยการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย หากอาการยังไม่ดีขึ้นจะให้รักษาด้วยยาแก้คลื่นไส้อาเจียน

นอกเหนือจากนี้ ผู้ที่ป่วยด้วยไวรัสตับอักเสบบียังควรดูแลรักษาตัวเองด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันไม่ให้ตับทำงานหนักจนอาจทำให้อาการตับอักเสบแย่ลงกว่าเดิม

การรักษาตับอักเสบเรื้อรัง

การรักษาในระยะนี้จะมีการรักษาโดยให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสและฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วย ซึ่งสามารถเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อได้ทุกขนาน ขึ้นอยู่ลักษณะของอาการป่วยและระยะของโรค ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน ทั้งนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพื่อเฝ้าดูระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจขึ้น เช่น โรคตับวาย โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ ซึ่งอาจจะส่งผลรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

เรียบเรียงข้อมูลจาก

  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ – Bumrungrad International Hospital (1)
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ – Bumrungrad International Hospital (2)
  • คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.)
  • มูลนิธิเอ็มพลัส – MPLUS
Facebook Comments
631
SHARES
ShareTweet
Tags: วิธีป้องกันโรค
Next Post
“ดูหนัง” ดีอย่างไร ทำไมคนเราชอบดูหนังแก้เครียดกันนะ?

"ดูหนัง" ดีอย่างไร ทำไมคนเราชอบดูหนังแก้เครียดกันนะ?

168HealthyCare

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Advertise & Partners

  • รับทำ SEO
  • ประกันสุขภาพ
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้าน
  • โควิด19
  • Sitemap
  • Contact

Social Network

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In