โรคเครียดลงกระเพาะ

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากกรดในน้ำย่อยของกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นมาตรงหลอดทางเดินอาหาร จนเกิดอาการอักเสบของหลอดอาหารตามมา อาการที่ผู้ป่วยจะได้รับจากกรดไหลย้อน จะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ กรณีที่ปล่อยไว้ในระยะเวลาที่นานมากเกินไปหรือมีการรักษาที่ไม่ถูกวิธีจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง นำไปสู่การเกิดแผลที่หลอดอาหาร หลอดอาหารตีบ หรือหลอดอาหารอักเสบในที่สุด ซึ่งที่พูกมาเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ ถึงแม้จะมีโอกาศต่ำมากที่จะเกิดขึ้นก็ตามโรคเครียดลงกระเพาะ

สารบัญเนื้อหา

สาเหตุของ โรคกรดไหลย้อน

การไหลย้อนของกรด Gastroesophageal เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่ไม่ควรจะไหลขึ้นมา ไหลกลับขึ้นสู่หลอดอาหารทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดอาหาร แต่ก็มีปัจจัยอื่นร่วมด้วยเช่นกันอย่างการใช่ชวิตประจำวันหรือโรคบางชนิดที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อให้ผิดปกติและหลั่งกรดเพิ่มขึ้นอย่างเช่น  อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารปริมาณมากภายในมื้อเดียว เข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที หรือเป็นโรคอ้วน พฤษติกรรมส่วนตัวเลห่านี้ก็สามารถก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน

อาการของ โรคกรดไหลย้อน

1) จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่
2) ปวดแสบปวดร้อนบริเวณอกบ่อยครั้ง
3) มีอาการจุกเสียดแน่น คล้ายอาหารไม่ย่อย
4) เรอบ่อย
5) คลื่นไส้ (อาจมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปากและคอ )
6) กลืนอาหารได้ลำบาก
7) ที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับผู้ป่วยบางรายที่โชคไม่ดีมากนักก็อาจเป็นเรื้อรัง ซึ่งมักจะพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย  ไม่ว่าจะเป็น  การไอเรื้อรัง เสียงแหบแห้ง รู้สึกระคายเคืองคอตลอดเวลา หรือแม้กระทั่งฟันผุ

ภาวะแทรกซ้อน โรคกรดไหลย้อน

1) ภาวะหลอดอาหารตีบตัน
2) อาการหอบหืด
3) ไอเรื้อรัง
4) โรคมะเร็งหลอดอาหาร (แต่ในปัจจุบันยังคงพบได้น้อยราย)

การป้องกัน โรคกรดไหลย้อน

1) ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
2) พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยทำให้เกิดสภาวะนี้มากที่สุด
3) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
4) งดดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์
5) ไม่รับประทานอาหารปริมาณมากภายในมื้อเดียว
6) ไม่เข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที
7) ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง (อาจช่วยลดโอกาสที่กรดไหลย้อนลดลง)

วิธีรักษา โรคกรดไหลย้อน

1) การรักษาโดยการใช้ยา
2) หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค
3) ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน (lifestyle modification)
4) การผ่าตัด