โรคนอนกรน (Snoring) เป็นโรคที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจบริเวณส่วนบนตีบแคบ กล่าวคือในขณะที่ผู้คนนอนหลับสนิท กล้ามเนื้อต่างๆ ในปากเริ่มเข้าสู่โหมดผ่อนคลายจะมีส่วนหนึ่งหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และเนื่องจากช่องระบายอากาศของร่างกายถูกปิดกั้นให้มีขนาดเล็กลง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนกรน
ปัจจัยเสี่ยงของอาการนอนกรน
1) น้ำหนักที่เกินมาตรฐาน
2) อาการของโรคภูมิแพ้ ที่เกิดในบริเวณจมูก
3) รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางหลุบ คางเล็ก มีสันจมูกคด หรือเบี้ยว
4) ต่อมทอนซิลโต จนเข้าไปขวางทางเดินหายใจ
5) สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
6) ทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาคลายเครียด ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ
7) ตามความจริงแล้วผู้ชายมีโอกาสมากกว่าผู้หญิง 6-10 เท่า
8) ผู้หญิงสามารถมีอาการนอนกรนเมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือน
อาการนอนกรน
1) มีอาการนอนกรนสลับกับหยุดหายใจเป็นช่วงๆ
2) กรนเสียงดังมากจนสามารถรบกวนการนอนของผู้อื่น
3) กรนแล้วสะดุ้งเฮือกเมื่ออากาศที่ใช่หายใจไม่พอ โดยที่ผู้นอนกรนส่วนมากอาจจะไม่ตื่นหรือไม่รู้สึกตัวเลย
4) ปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้ง
5) รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้า
6) พบว่ามีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน
กรณีที่พบอาการข้างต้นคล้ายด้านบน แนะนำว่าให้เข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะเข้ารับการตรวจหาสาเหตุละเข้ารับแนวทางการรักษาที่เหมาะสำหรับตัวบุคคล
วิธีรักษาอาการนอนกรน
1) ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
2) ใส่อุปกรณ์ดึงลิ้นหรือกรามให้เลื่อนไปด้านหน้า
3) ใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกในทางเดินหายใจ (CPAP) เพื่อเปิดทางเดินหายใจที่ตีบแคบให้กว้างขึ้น
4) ผ่าตัดเพดานในช่องปากหรือตัดกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้น หรือ Uvulopalatopharyngoplasty (UPPPX)
5) จี้หรือผ่าตัดเพดานอ่อนและลิ้นไก่ด้วยเลเซอร์ หรือ Laser-assisted uvulopalatopharyngoplasty (LAUP)
6) ผ่าตัดเลื่อนกรามเพื่อให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น