วันศุกร์, มกราคม 15, 2021
  • Login
168HealthyCare
ADVERTISEMENT
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
HealthNews
No Result
View All Result

บาดแผลแบบไหนบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคบาดทะยัก

บาดแผลแบบไหนบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคบาดทะยัก
79
SHARES
ShareTweet

การใช้ชีวิตประจำของคนเราในแต่ละวันนั้น คงต้องมีบ้างบางครั้งที่ร่างกายจะได้รับบาดแผลจากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะจากสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติอย่างกิ่งไม้หรือหนามแหลมคม การหกล้มหรืออุบัติเหตุก็สามารถทำให้เกิดแผลได้เช่นกัน บางครั้งก็อาจทำให้เรากังวลใจว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นจะมีการติดเชื้อโรคอะไรบ้างหรือไม่ หรือจะติดเชื้อบาดทะยักบ้างหรือเปล่า ซึ่งโรคบาดทะยักเป็นโรคที่มีความอันตรายมากและทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับบาดแผลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก (Tetanus prone wound) มีดังนี้

  1. แผลสดที่สัมผัสกับสิ่งสกปรก

การได้รับบาดแผลจากสาเหตุต่างๆ เช่น หกล้มแผลถลอก ถูกหนามเกี่ยวตามร่างกายจนเกิดแผล ถูกก้อนหินแหลมคมทิ่ม หรือได้รับแผลจากอุบัติเหตุ แล้วบาดแผลไม่ได้รับการทำความสะอาดให้ดี หรือบาดแผลมีการสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่มีโอกาสปนเปื้อนของเชื้อโรคสูง เช่น ดิน ฝุ่น น้ำลาย หรือมีสิ่งสกปรกตกข้างอยู่ภายในบาดแผล จะมีความเสี่ยงที่แผลจะติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงอาจติดเชื้อบาดทะยักได้ด้วย

  1. แผลที่ปากแผลแคบ บาดแผลลึก

การได้รับบาดแผลที่มีปากแผลแคบ บาดแผลลึก เช่น บาดแผลจากการโดนของมีคมบาด จะทำให้เกิดรอยแผลที่มีมีปากแผลค่อนข้างแคบ ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ใช้บาดแผลร้ายแรงอะไร จึงอาจทำให้บางคนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าไม่น่าจะต้องกังวลใจอะไรมากนัก แต่ความจริงแล้วแผลประเภทนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นบาดทะยักได้ เพราะเชื้อบาดทะยักจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีออกซิเจนน้อย หากเกิดการติดเชื้อขึ้นกับบาดแผลเหล่านี้ เชื้อบาดทะยักจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

บาดแผลแบบไหนบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคบาดทะยัก

  1. แผลจากการถูกทิ่ม หรือถูกตำ

การถูกของแหลมคมทิ่ม หรือถูกตำโดยสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศษแก้ว กิ่งไม้ ตะปู เข็ม หรือเสี้ยนหนาม จะทำให้ร่างกายของเราเกิดบาดแผลที่ลึกได้ง่าย ปากแผลมักจะมีลักษณะเล็กมากๆ หรืออาจดูเหมือนเป็นจุดเล็กๆ หากสิ่งที่ทำให้เราเกิดแผลขึ้นมีการปนเปื้อนของเชื้อบาดทะยัก ก็จะทำให้เชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายของเราและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

  1. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

บาดแผลที่เกิดจากการโดนไฟไหม้ หรือโดนน้ำร้อนลวก ถือเป็นบาดแผลที่ควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และมีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของบาดทะยักได้

  1. แผลกดทับและแผลที่อับชื้นเป็นเวลานานจนเกิดเนื้อตาย

การเกิดแผลกดทับส่วนใหญ่พบได้ในผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผู้ป่วยอัมพาต หากมีการกดทับหรือมีแผลที่อับชื้นเป็นเวลานานจนมีเนื้อตายเกิดขึ้น จะส่งผลเสียต่อร่างกายมาก เพราะภาวะเนื้อตายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก หากไม่รีบรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

  1. แผลที่เกิดจากการถูกกัดหรือถูกข่วนโดยสัตว์

การได้รับบาดแผลจากสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด หรือสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติจากการถูกกัดหรือถูกข่วน ถือเป็นแผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก มีโอกาสที่จะทำให้ได้รับเชื้อบาดทะยักได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้หากสัตว์ชนิดนั้นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้างอีกด้วย

การได้รับแผลจากการใช้ชีวิตประจำวัน หรือจากเหตุการณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพื่อดูแลและป้องกันตนเองจากการติดเชื้อต่างๆ ทุกครั้งที่มีบาดแผลเกิดขึ้นไม่ว่าจะจากสาเหตุใด เราควรรีบทำความสะอาดบาดแผลโดยเร็วที่สุด ในกรณีที่บาดแผลของคุณเป็นบาดแผลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยักแล้วล่ะก็ คุณควรรีบรับวัคซีนป้องกันบาดทะยักจากสถานพยาบาลโดยเร็วที่สุด หรือหากเคยรับวัคซีนแล้วก็อาจจำเป็นต้องรับวัคซีนเพิ่มอีกครั้ง เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตของคุณสุขภาพดี มีความปลอดภัย และห่างไกลจากบาดทะยัก

Facebook Comments
79
SHARES
ShareTweet
Tags: วิธีป้องกันโรคโรคบาดทะยัก
Next Post
วิธีรับวัคซีนบาดทะยักเมื่อได้รับบาดแผล

วิธีรับวัคซีนบาดทะยักเมื่อได้รับบาดแผล

168HealthyCare

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Advertise & Partners

  • รับทำ SEO
  • ประกันสุขภาพ
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้าน
  • โควิด19
  • Sitemap
  • Contact

Social Network

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In