โรคความดันสูง (Hypertension/High Blood Pressure) ผู้ป่วยนั้นจะออยู่ในภาวะที่ความดันโลหิตของหลอดแดงสูงมากกว่าปกติอยู่แถบจะตลอดเวลา กรณีแบบนี้หากไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ป่วยได้ และอาจนำไปสู้ขั้นเสียชีวิตในที่สุด
สารบัญเนื้อหา
สาเหตุ การเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท
1) ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Primary Hypertension) ซึ่งโรคความดันโลหิตชนิดนี้ยังชนิดที่นังไท่สามารถออกมาระบุได้อย่างแน่ชัดว่าต้นตอของโรคนั้นเกิดขึ้นด้อย่างไร และมีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า (Essential Hypertension)
2) ชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ส่วนมากแล้วเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย โดยมีตั้งแต่ ผู้ป่วยที่อยุ่ในภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, ปัญหาต่อมไทรอยด์, ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกตรงต่อมหมวกไต , หลอดเลือดพิการตั้งแต่กำเนิดการ,ผู้ที่เป็นโรคไตม หารใช่ยาบางชนิด ตัวอย่าง สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์
อาการของ โรคความดันโลหิตสูง
คนส่วนมากที่เป็นโรคความดัดโลหิตสูงมักจะไม่แสดงอาการออกมาอย่างแน่ชัด อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้ป่วยนั้นเป็นโรคโลหิตสูงขั้นรุนแรง จึงจะแสดงอาการเหล่านี้อออกมาให้เห็น
1) ปวดศีรษะรุนแรง
2) หายใจสั้น
3) เลือดกำเดาไหล
อาการข้างต้นที่เราได้พูดไปนั้นเป็นเพียงอาการเบื้องต้น ที่ยังไม่สามารถระบุอย่างชัดเจนได้ สำหรับผู้ป่วยบ้างรายนั้นเมื่อที่ตรวจพบภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง จะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้โรคนี้ถูกตั้งนานว่า Silent Killer ฆาตกรเงียบที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแบบไม่ทันได้ตั้งตัว
ภาวะแทรกซ้อนของ โรคความดันโลหิตสูง
การณีที่ปล่อยไว้นานเกิดไปลัมีการดูแลสุขภาพแบบผิดวิธี ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยความดันสูง และโรคทรกซ้อนที่เรามักพบ มีดังต่อไปนี้
1) โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดแดง
2) โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
3) โรคไตเรื้อรัง เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสมองในด้านความจำ
4) มีปัญหาทางด้านสายตา
5) โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (โรคนี้ก่อให้เกิดความเสียหายจนถึงขั้นเสียชีวิต)
วิธีรักษา โรคความดันโลหิตสูง
1) เปลี่ยนนิสัยการบริโภคอาหารเบื้อต้น
2) ลดอาหารประเภทโซเดียมสูง
3) เน้นรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง
4) เน่นรับประทานธัญพืช ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดีต่อร่างกาย
5) หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง
6) หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
7) รออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการใช้ยาร่วมด้วย
สิ่งที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้นสามารถช่วยปรับค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยให้ลดลงมาอยู่ในระดับปกติได้ แต่อย่างไรก็ตามการรักษาก็ยังคงต้องเป็นไปตามชนิดของโรคเป็นหลัก การรักษาอาการตามชนิดที่ทราบมักจะมีประสิทธิภาพสูงที่จะหายมากกว่า ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดอยู่แล้ว
การป้องกัน โรคความดันสูง
1) การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย
2) อย่าลืมที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสอม
3) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
4) ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นพื้นฐาน
5) หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ (เป็นการตรวจค่าความดันโลหิตว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่)