ข้อมูลจากทางกระทรวงสาธารณสุขในช่วงเวลาปี 2555-2558 อัตราการผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ (Heart disease) ในประเทศเรานั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557 มีรายงานเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 58,681 ราย หรือตีเป็นค่าเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อชั่วโมงและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน
สารบัญเนื้อหา
โรคหัวใจ คือ
โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ โรคหัวใจสามารถแบ่งออกมาได้หบนากลุ่ม อย่างเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคหัวใจพิการ แต่กำเนิด , กล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดปกติ, โรคลิ้นหัวใจ และโรคติดเชื้อในบริเวณหัวใจ เป็นต้น
สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจการสูบหรือสูดดมควันบุหรี่
1) การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง อาหารหวาน
2) การรับประทานอาหารประเภทหวานมากเกินไป
3) การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด
4) น้ำหนักที่มากเกินมาตรฐาน
อาการของโรคหัวใจ
อาการของโรคหัวใจนั้นถูกแบ่งกลุ่มไว้ตามชนิด ทุกชนิดนั้นจะแสดงอาการออกมาโดดเด่นไม่เหมือนกัน จึงถูกจำแนกและแบ่งชนิดออกมา เพื่อชี้จุดโดยเฉพาะของของโรคหัวใจที่ถูกตำแหน่งมากขึ้นดังนี้
1) โรคหลอดเลือดหัวใจ
มีความรู้สึกแน่นน่าอก ปวดร้าวไปตาม แขน ไล่ไปช่วง ลำคอ ท้อง หรือบริเวณหลัง สำหรับผู้ป่วยบ้างราย อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อย ไม่มีแรง หรือหมดสติได้
2) โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
จะทำให้ผู้ป่วยนั้นรู้สึกใจสั่น แต่บางครั้งอาจแสดงอาการแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย หรือคล้ายจะเป็นลม เป็นอาการที่เกิดจากการที่หัวใจ เต้นเร็วผิดปกติ ช้ากว่าปกติ หรือแม้แต่การเต้นที่ไม่ม่ำเสมอก็ร่วมเข้าไปด้วยเช่นกัน
3) โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
สิ่งรู้สึกได้อย่างแรกเลยก็คือ มีอาการหายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย รู้สึกได้มากขึ้นเมื่อร่างกายออกแรงหนักๆ หว่างมาถึงขั้นรุนแรง แค่นังอยู่เฉยๆ ก็จะสังเกตุเห็นถึงอาการบวมตามแขน ขา หนังตา ไม่สามารถนอนราบกับพื้นได้ มักตื่นขึ้นมาไอในยามดึก
4) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก แข่งเป็นกลุ่มที่มีอาการเขียว และไม่มีอาการเขียว ในกลุ่มที่ไม่รุนแงมาก จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น มีอาการเหนื่อยเมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม มากกว่าเด็กคนอื่น เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กอายุเดียวกัน แต่ในกลุ่มที่มีอาการมาก จะทำให้ไม่สามารถเลี้ยงทารกโตขึ้นมาได้ ทารกนั้นจะมีอาการเหนื่อยล้าออกมาเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างให้นมหรือทารกนั้นมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยกว่าเด็กคนอื่น
5) โรคลิ้นหัวใจ
จัดอยู่ในหมู่ที่แทบจะไม่มีการแสดงอาการอะไรออกมาให้เห็นแบบเด่นชัดมากนัก หรืออาจมีเพียงอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติเล็กน้อยเท่านั้น หากไม่ได้เข้ารับการตรวจร่างกายก็แถบจะไม่รู้ได้เลยว่าตนเองนั้นเป็นโรคลิ้นหัวใจอยู่ แถมโรคนี้นั้นยังส่งผลต่อการเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้
6) โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
ขาหรือช่องท้องบวม สังเกตุได้ว่ามีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง เป็นไข้เรื้อรัง มีอาการไอเรื้อรังแห้ง ๆ หัวใจเต้นผิดปกติ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หายใจหอบเหนื่อย
การรักษา โรคหัวใจ
จะเป็นการรักษาตามอาการและสาเหตุที่ตรวจพบของผู้ป่วยแต่ละราย
1) การทำหัตถการสวนหัวใจ
2) การผ่าตัดหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา
3) การให้คำแนะนำในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด
4) เพิ่มการออกกำลังกาย เพื่อความสมดุลของร่างกาย หรือตามที่แพทย์แนะนำ
5) ปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยแนะนำให้ลดอาหารหวาน อาหารเค็ม และอาหารที่มีไขมันสูง
การป้องกันโรคหัวใจ
1) หมั่นตรวจร่างกายเพื่อควบคุมระดับความดันและไขมันในเลือดเป็นประจำ
2) หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก
3) การรับประทานอาหาร จำพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช
4) การลดปริมาณไขมัน โซเดียม และน้ำตาลให้น้อย
5) หยุดสูบบุหรี่
6) พยายามผ่อนคลาย เพราะความเศร้าและความเครียดก็อาจเป็นปัจจัยการเกิดโรคหัวใจได้