กลัวเข็มฉีดยา เช็กสิ! คุณเข้าข่ายโรคโฟเบียหรือเปล่า?
เรามักจะเห็นเด็กๆร้องไห้ยามที่พวกเขาโดนคุณหมอฉีดยา นั่น […]
โรควัณโรค (Tuberculosis) หรือ ทีบี (TB) เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดโรคได้ในอวัยวะทุกส่วนของทั่วร่างกาย ตั้งแต่ผิวหนังภายนอกไปจนถึงระบบประสาทและสมอง ส่วนมากมักพบที่ปอด วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญซึ่งปัจจุบันยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก
สารบัญเนื้อหา
วัณโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม (Mycobacterium) หลายชนิด ชนิดที่พบมากในประเทศไทยคือ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) และไมโครแบคทีเรียม โบวิส (Mycobacterium bovis) เชื้อทั้งสองชนิดนี้เป็นสปีชีส์หลักของ Mycobacterium tuberculosis complex
โรควัณโรคสามารถติดต่อได้ผ่านระบบทางเดินหายใจ แพร่ผ่านทางละอองฝอย (Airbone) จากการพูดคุย หัวเราะ ไอ จาม รวมถึงจากเสมหะของผู้ป่วย ผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยหากหายใจรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้โดยที่ไม่รู้ตัวก็อาจเป็นวัณโรคได้ สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อวัณโรค 10% มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค ส่วนอีก 90% จะมีภูมิคุ้มกันดีพอที่จะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ ซึ่งจะถือเป็นวัณโรคระยะแฝง ไม่มีการแสดงอาการใดๆ
สำหรับผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว หากได้รับเชื้อวัณโรคจะมีโอกาสป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า
ผู้ที่ป่วยด้วยวัณโรคจะมีอาการดังต่อไปนี้
การติดเชื้อวัณโรคสามารถเกิดขึ้นได้จากการสูดละอองที่มีเชื้อวัณโรค แต่หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีก็จะสามารถป้องกันการเป็นโรควัณโรคได้ ดังนั้นจึงควรดูแลตัวเองด้วยวิธีสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ส่วนวิธีการป้องกันอื่นๆ มีดังนี้
[spacing size=”10″]ทั้งนี้ องค์การอนามัยได้แนะนำให้ฉีดวัควัณโรค (BCG) เพื่อป้องกันวัณโรคแก่เด็กแรกเกิดทุกคน เพื่อให้เด็กทุกคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคนี้ตั้งแต่แรกเกิด และไม่ต้องกังวลกับการติดเชื้อวัณโรคต่อไปในอนาคต
การรักษาวัณโรคในสูตรยาระยะสั้นจะมีวิธีรักษา 2 ระยะ คือ
ระยะเข้มข้นเป็นระยะที่ใช้ยารักษาวัณโรคหลายตัวในการรักษา เพื่อจัดการฆ่าเชื้อวัณโรคชนิดต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ปริมาณเชื้อลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อปริมาณเชื้อในร่างกายมีปริมาณลดต่ำลง โอกาสที่จะมีเชื้อดื้อยาอยู่ในร่างกายก็จะต่ำลงด้วย หากจำนวนเชื้อลดต่ำลงมากแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาหลายๆ ตัวอีก สามารถรักษาต่อด้วยระยะต่อเนื่องต่อไป
ระยะต่อเนื่องเป็นการรักษาต่อจากระยะเข้มข้น การรักษาในระยะนี้จะมีการให้ยาเพียง 2 ตัว โดยใช้เวลา 4-7 เดือน จนครบสูตรยาที่กำหนด การลดจำนวนยาในระยะนี้จะช่วยลดผลข้างเคียงจากยาได้ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
[spacing size=”20″]แม้ว่าวัณโรคจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดด้วยยาได้ แต่การป้องกันโรคด้วยวัคซีนเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยเฉพาะในวัยเด็กที่มักจะวินิจฉัยวัณโรคได้ยาก เพราะว่าไม่พบเชื้อจากการตรวจเสมหะ อีกทั้งการรักษาก็ยังใช้เวลานาน ส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ทำให้อาจเกิดการรักษาไม่ครบตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้
[spacing size=”20″]เรียบเรียงข้อมูลจาก
เรามักจะเห็นเด็กๆร้องไห้ยามที่พวกเขาโดนคุณหมอฉีดยา นั่น […]
เรามักจะเห็นข่าวบ่อยๆ ที่มีคนวิ่งในงานมาราธอน หรือฮาล์ฟ […]
อาการเบื่องานที่ทำ รู้สึกอยากพักผ่อน อยากหนีไปจากงานที่ […]
อาการไอเป็นอาการปกติที่พบได้ทั่วไป แต่หากมีอาการไอติดต่ […]
คนที่มีลูกก็อยากให้ลูกเติบโตมาอย่างแข็งแรง ร่าเริง สดใส […]
จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่าพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดมะเขือเ […]