สารบัญเนื้อหา
วิธีการง่าย ๆ สำหรับเลือกทานอาหารของผู้ป่วย “โรคตับ”
ผู้ป่วย “โรคตับ” การที่จะเลือกรับประทานอาหารสักจานต้องผ่านการคัดเลือกอาหารที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยซะก่อน วันนี้จึงขอมาแนะนำ วิธีการง่าย ๆ สำหรับการใช่เลือกทานอาหารของผู้ป่วย “โรคตับ” เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็น การชะลอความรุนแรงของโรค แถมยังช่วยให้ร่างกายได้รับโภชนาการที่ดีขึ้น
ตับคือแหล่งสะสมของวิตามินต่าง ๆ ในร่างกาย คอยเป็นตัวช่วยในเรื่องของการดูดซึมสารพิษที่อยู่ในกระแสเลือด แต่กรณีที่เป็นโรคมะเร็งตับหรือว่าตับแข็ง จะทำให้ร่างกายนั้นได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้จะไม่ได้ถูกเผาผลาญ จึงเป็นเหตุให้ร่างกายนั้นรับสารอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควรส่งผลให้ตกอยู่ในสภาวะ โภชนาการ สิ่งที่จะช่วยรักษาได้ดีที่สุด คือการดูแลสุขภาพของตัวเอง และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
อาหารที่ผู้ป่วย “โรคตับ” ควรรับประทานนั้นมีทั้งหมด 3 ประเถท
1.อาหารบำบัดสำหรับผู้ป่วย โรคตับแข็ง
หมอจะคอยสั่งเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มหรือลดปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย ตามช่วงระยะของโรค ช่วงแรงอาการของโรคตับแข็งนั้นไม่มีผลกระทบต่อสมอง เป็นช่วงที่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป ส่วนปริมาณโปรตีนควรได้รับประมาณ 6-12 ช้อนโต๊ะ ไม่เกินกว่านี้ โปรตีนจะมาจากการทาน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน การทานไข่ นม เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อไก่ หากเป็นโรคตับที่มีอาการของสมองร่วมอยู่ด้วย กรณีนี้จะรับประทานได้เพียง 2-3 ช้อนโต๊ะเท่านั้น สิ่งที่ควรเลือกทานคือ อาหารประเภทที่มี คาร์โบไฮเดรตที่มีโปรตีนสูง เช่น แป้งซาหริ่ม แป้งสาคู วุ้นเส้น เส้นเซี่ยงไฮ้ วิตามิน B1, B2, B6 และ B12 และแป้งมัน อย่าลืมที่จะลดเรื่องของไขมันในอาหารนะ
2.อาหารบำบัดสำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งตับ
สำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งตับ จะมีการเพิ่มโปรตีนขึ้น ประมาณ 1.5 กิโลกรัม /ต่อน้ำหนักตัว เป็นการเพิ่มจาก ไข่ หรือว่าเนื้อปลา ส่วนที่มีไขมันน้อย เป็นการป้องกันเรื่องของ การเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารที่มากเกินความจำเป็น ป้องกันเรื่องท้องอืด ภาวะแน่นท้อง หากรู้สึกว่าร่างกายนั้นบวมน้ำ กรณีนี้ควรรับประทานไข่ขาว หรือเป็นการทานไข่ลวกวันละ 2 ฟองแทนก็ได้ รับประทานอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทข้าว หรือน้ำหวานเพิ่มได้ (สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน) ไม่ควรรับประทานอาหารจำพวก ผักใบเขียวที่มากเกินความจำเป็น รวมไปจนถึง ธัญพืช ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่ชัด
3.อาหารบำบัดโรคตับอักเสบ
กรณีนี้ เมื่อคนไข้รู้สึกไม่อยากอาหาร สามารถที่จะให้อาหารเหลวทานได้ แต่อาหารเหลวงนี้ต้องมีคุณค่าทางอาหารที่สูง อย่าง ไข่ น้ำตาล นม หรือว่าไอศครีม หากคนไข้มีอาการดีขึ้นมากแล้วก็สามารถที่จะกลับมาทานอาหารมื้อปกติได้แต่ก็ควรเน้นเรื่องของสารอาหารที่ต้องครบถ้วนในทุก ๆ มื้อ