ทุกท่านนั้นทราบอยู่แล้วว่าร่างกายของคนเรานั้นขยับอยู่ตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่เราจะเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว วันนี้เราจึงรวบรวม 10 โรคร้ายแรงที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในระยะยาวของร่างกาย มาให้ท่านั้นได้ทราบกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในระยะยาว ตามความจริงแล้วร่างกายเรามีการเคลื่อนไหวอยู่ 3 ส่วนใหญ่ๆ นั้นก็คือ สมองและประสาท กระดูกสันหลัง กับกระดูกและข้อ ทั้งสามสามารถทำงานด้วยกันได้อย่าลงตัว ไม่สามารถที่จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปได้
สารบัญเนื้อหา
1) โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ถูกพบมาขึ้นและเร็วขึ้นในช่วงวัย 45 ปีขึ้นไป อาการเริ่มต้นคือ พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ออก มุมปากตก ปวดศีรษะเฉียบพลัน แขนขาไม่มีแรง ชาครึ่งซีก เวียนศีรษะ ตาพร่าเดินเซ หน้าหรือปากเบี้ยว หากเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรที่จะเร่งไปพบแพทย์โดยทันทีภายใน 3 ชั่วโมง โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นโรคที่มักพบในผู้ป่วย โรคหัวใจ ผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันสูง มีคนในครอบครัวเคยเป็น Stroke มาก่อนหรือคนที่สูบบุหรี่จัด
2) โรคกระดูกต้นคอเสื่อม (Text Neck)
ลักษณะคล้ายกับการนอนตกหมอน อาการที่พบบ่อยอาจเป็นเพียงความเจ็บปวดที่ต้นคอมาก่อน มีอาการ ชา มึนงงหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วย ควรที่จะเข้าไปพบแพทย์ทันที เริ่มต้นคือการเคลื่อนไหวผิดปกติ ตัวอย่าง ทรงตัวไม่มั่นคง แขนขาสั่นกระตุก เดินลำบาก เดินช้าลง ล้มบ่อย ในกรณีที่เป็นมานานและไม่ยอมเข้าพบแพทย์ อาจจะทำให้ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง
3) โรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันพบมากในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองที่ขาดโดปามีน บ้างครั้งโรคนี้ก็เกิดขึ้นกับวัยกลางคน ที่สมาชิกภายในครอบครัวนั้นเคยเป็นโรคนี้มาก่อน อาการเริ่มต้นที่สังเกตเห็นได้ ซึมเศร้าหดหู่ อาการสั่นที่กราม ใบหน้า หรือ แขนขา พูดหรือกลืนลำบาก เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อเกร็ง หลายครั้งที่มีการเข้าใจผิดว่านี้คืออาการของผู้สูงอายุ
4) ข้อไหล่ติด
เป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อมตรงเอ็นรอบข้อและบริเวณปลายกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับข้อ ส่วนมาจะพบมากในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง อาการที่มักจะเกิดขึ้นนั้นก็คือ ปวดร้าวลงมาบริเวณต้นแขน ปวดหัวไหล่ เวลายกแขนขึ้นสูง ปวดเวลาใส่เสื้อเสื้อ จะยิ่งปวดมากขึ้นเวลานอน ไม่สามารถที่จะนอนตะแคงทับหัวไหล่ข้างที่ปวดได้ พลิกตัวลำบาก เคลื่อนไหวไม่สุดรู้สึกข้อไหล่ติด แนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค
5) กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
อาการของโรคกระดูกหักในผู้สูงอายุนั้นเป็นเรื่องที่สังเกตได้ง่ายมาก สังเกตเห็นได้จากอาการ ปวด บวม ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือเคลื่อนที่ไปในบริเวณที่หักได้ จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปอีกเมื่อส่วนที่หักนั้นคือช่วงสะโพกของผู้สูงอายุ เพราะจะได้รับความเสี่ยง จากภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิต
6) โรคข้อสะโพกเสื่อม
นี่คืออาการเริ่มตนของ อาการข้อสะโพกเสื่อม ไม่ว่าจะเป็นปวดง่ามขาด้านหน้าข้างใดข้างหนึ่ง ปวดสะโพกและปวดเข่า เจ็บแปล๊บที่ข้อสะโพกขณะเดินหรือวิ่ง เจ็บเวลาเดิน พบในผู้สูงวัยเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันการผ่าตัดสะโพกเทียมถูกใช้เทคนิคแผลเล็ก เพื่อที่จะยืดอายุข้อต่อสะโพกใหม่ และการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วด้วยโปรแกรมลดความปวด
7) ข้อเข่าคลอนแคลน
ข้อเข่าคลอนแคลน พบมากในหญิงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนกลุ่มที่มีอาการข้อเสื่อมก่อนวัย มักพบในหนุ่มสาววัยทำงาน อ้วน นักฟุตบอลที่ใช้เข่าเยอะ นักวิ่ง หรือบาดเจ็บหัวเข่าบ่อยครั้ง ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์เฉพาะด้านข้อเข่า เพื่อเช็คดูว่าเข่าของผู้ป่วยสึกมากน้อยเพียงใด
8) โรคปวดศีรษะไมเกรน
เป็นโรคที่มักพบในผู้หญิงมากกว่า ผู้ชาย เป็นอาการปวดหัวข้างเดียว อาการจะเป็นๆ หายๆ หลายคนคิดว่าการทานยาแก้ปวดจะสามารถทำให้หายได้ แต่ความจริงนี้นไม่ใช่ การรักษาที่ถูกวิธีคือ ปรับสมดุลกล้ามเนื้อคอบ่าหลังให้ถูกวิธี เครื่อง TMS การฝังเข็มการแพทย์แผนจีนช่วยกระตุ้นการไหลเวียน กระตุ้นกระแสไฟฟ้าลดปวด ลดการกลับมาปวดซ้ำใน 24 ชม. กายภาพบำบัดลดปวดด้วย Laser Therapy Posture Analysis ฉีดยาระงับปวดที่เส้นประสาทหลังศีรษะ
9) หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ตามปกติของคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ทางแพทย์ จะแนะนำทำกายภาพ ทานยา หรือแนะนำวิธีลดอาการปวดโดยไม่ผ่าตัดอน่าง “อินเตอร์เวนชั่น” วิธีนี้จะลดการทานยา แต่จะฉีดยาลดการอักเสบเข้าไปในช่องเส้นประสาทเฉพาะจุดแทน อาการส่วนมากที่มักพบคือ าการปวดหลังร้าวลงขา ปวดน่อง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง
10) โรคนอนกรน
เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับได้ โรคนอนกรดจะมีอาการ อ่อนเพลีย ปวดหัวเมื่อตื่นส่งผลให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ตื่นสาย ความจำแย่ แถมยังมีอัตราเรื่องของโรคอยู่สูง ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคความดันโลหิตในปอดสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตสูง ใช่ว่าคนอ้วนเท่านั้นที่จะนอนกรน ความจริงแล้วคนผอมก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน หากคุณมีปัญหาการนอนหลับคุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับสำหรับการทดสอบการนอนหลับโดยใช้ Sleep Lab