วันอาทิตย์, สิงหาคม 14, 2022
  • Login
168HealthyCare
ADVERTISEMENT
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
HealthNews
No Result
View All Result

มารู้จัก 4 ระยะของอาการนิ้วล็อค อาการเป็นยังไงมาดูกัน

มารู้จักกับอาการป่วยยอดฮิตของชาวออฟฟิศ อาการนิ้วล็อคเป็นยังไงมาดูกัน
รักษาหลุมสิว
316
SHARES
ShareTweet

การใช้มือและนิ้วมือในการทำงานอย่างหนักเป็นประจำ การทำงานที่ต้องเกร็งนิ้วมือนานๆ รวมถึงการทำงานพิมพ์งานของพนักงานออฟฟิศ สามารถทำให้เกิดภาวะนิ้วล็อค (Trigger finger หรือ Trigger thumb) ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดบริเวณนิ้วมือ โดยเฉพาะในส่วนของข้อนิ้วมือ หากไม่ทำการรักษาจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้

สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคนิ้วล็อคแต่ละคนอาจจะมีลักษณะอาการแตกต่างกันไป เนื่องจากโรคนิ้วล็อคเป็นโรคที่มีอาการอยู่หลายระยะ อาการนิ้วล็อคสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

สารบัญเนื้อหา

  • 1 ระยะที่ 1
  • 2 ระยะที่ 2
  • 3 ระยะที่ 3
  • 4 ระยะที่ 4

ระยะที่ 1

ระยะเริ่มแรกของนิ้วล็อคจะมีอาการปวด เจ็บ บริเวณฝ่ามือและโคนนิ้วมือ งสามารถเคลื่อนไหวมือและนิ้วมือได้เป็นปกติ แต่หากกดที่ฐานนิ้วมือจะรู้สึกเจ็บ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยระยะนี้จะสามารถงอนิ้วได้โดยไม่มีอาการติดขัดหรืออาการสะดุด (Triggering) จึงอาจไม่ทันสังเกตว่าตนเองกำลังมีอาการเริ่มต้นของนิ้วล็อค

ระยะที่ 2

ผู้ป่วยในระยะนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการสะดุด (Triggering) รู้สึกมีการติดขัดเมื่อขยับนิ้ว เหยียดนิ้ว หรืองอนิ้ว การเคลื่อนไหวนิ้วมือเป็นไปได้ยากขึ้น ปลอกเส้นเอ็นบริเวณข้อโคนนิ้วมือมีอาการอักเสบและตีบแคบลง ทำให้เส้นเอ็นของนิ้วมือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติ แต่ยังสามารถใช้มือและนิ้วมือในการทำงานและทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

มารู้จักกับอาการป่วยยอดฮิตของชาวออฟฟิศ อาการนิ้วล็อคเป็นยังไงมาดูกัน

ระยะที่ 3

อาการป่วยในระยะนี้เป็นระยะที่จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยอย่างเห็นได้ชัด คือ มีอาการติดล็อคเมื่องอนิ้ว หากงอนิ้วหรือกำมือแล้ว จะไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้เหมือนอย่างที่เคยเป็น จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยแกะ และง้างนิ้วมือออกมา ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะไม่สามารถงอนิ้วลงได้เลย

ระยะที่ 4

ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของอาการป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบและบวมที่นิ้วมือ ไม่สามารถเหยียดนิ้วตรง ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่สามารถกำมือได้เลย ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายสามารถกำมือได้ แต่ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือออกมา หากพยายามจะใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยในแกะนิ้วมือหรือช่วย

โรคนิ้วล็อคเป็นโรคใกล้ตัวที่สามารถเกิดได้กับคนทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องใช้มือและนิ้วมือทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นประจำมากกว่าคนทั่วไป สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออาการของโรคนิ้วล็อค หากเป็นงานที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้มือและนิ้วมืออย่างหนักได้ ควรหมั่นหาเวลาในการพักมือระหว่างวันบ้าง เพื่อป้องกันปัญหาที่สามารถนำไปสู่โรคนิ้วล็อค จนส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา

316
SHARES
ShareTweet
Next Post
อาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร? ทำไมเป็นแล้วงอนิ้วไม่ได้เลย

นิ้วล็อคเกิดจากอะไร? ทำไมเป็นแล้วงอนิ้วไม่ได้เลย

168HealthyCare

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Advertise & Partners

  • รับทำ SEO
  • เสริมหน้าอก
  • เช็ความเร็วเน็ต
  • จองทะเบียนรถ
  • Contact

Social Network

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In