อีกหนึ่งโรคร้ายที่มาหาเราอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว นั้นก็คือ โรคปอดบวม (Pneumonia) แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรละว่าเราเป็นโรคปอดบวมอยู่หรือเปล่า สามารถสังเกตุอาการได้จากตรงไหนบ้าง แล้วความผิดปกติประเภทใดที่เรียกว่าความเสี่ยง อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นปอดอักเสบ วันนี้เรามีคำตอบ
สารบัญเนื้อหา
สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคปอดบวม
โรคปอดบวม (Pneumonia) เป็นโรคติดต่อแบบเฉียบพลัน โดยจะเริ่มมาจากการอักเสบของปอด ตรงรอบบริเวณของหลอดลมในช่วงปลาย และเนื้อเยื่อรอบๆถุงลม โรคปอดบวมพบได้ประมาณ 8-10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้ปอดของเรานั้นมีอาการผิดปกติในที่สุด การติดเชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัส แบคทีเรียที่พบมากที่สุดคือแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptococcus pneumonia ซึ่งสามารถพบได้ในระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นโพรงจมูกหรือภายในลำคอ ผู้ที่ติดเชื้อบ้างรายนั้นก็ไม่มีอาการแสดงออกมาให้เราได้เห็น ตัวผู้ป่วยเองก็สามารถที่จะเป็นพาหะในการแพร่เชื่อได้เช่นกัน
โรคปอดบวม มีอาการเป็นอย่างไร
อาการของแต่ละบุคคลนั้นไม่เหมือนกัน เป็นอาการที่ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่ผู้ป่วยนั้นได้รับ ว่าติดเชื้ออยู่ไหนส่วนไหน อย่างเช่น ในกรณีที่มีการติดเชื้อบริเวณหบอดบม ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคือการไอ แต่ตามปกติแล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวมจะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด ถูกแบ่งออกเป็นระยะของผู้ใหญ่และเด็กทารก ดังนี้
อาการโรคปอดบวมระยะของผู้ใหญ่ สามารถสังเกตุได้ดังนี้
1) ไอ จาม
2) เจ็บคอ
3) มีเสมหะ
4) หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
5) มีไข้
6) หนาวสั่นเจ็บชายโครง
7) เจ็บหน้าอก และเจ็บมากเมื่อหายใจแรง ๆ
อาการโรคปอดบวมของทารก สามารถสังเกตุได้ดังนี้
1) หยุดหายใจเป็นพัก ๆ
2) หายใจหน้าอกบุ๋ม หรือหายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้ง/นาที
3) ซึม
4) ไม่ดูดนม
ภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ทารกแรกเกิด (ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม) ที่ไม่ได้กินนมแม่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี และยังเป็นเด็กทารกทีไม่ได้รับวัคซีนใดๆหรือรับวัคซีนไม่ครบ โดยเฉพาะตังยาวัคซีนที่ป้องกันโรคหัด และเด็กทารกต้องออกไปเจอกับมลพิษทางอากาศอยู่บ่อครั้ง อย่างเช่นควัน หรือแม้แต่สภาพสังคมที่แออัดความเสี่ยงของโรคปอดอักเสบจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง
โรคปอดบวมกับวิธีป้องกันเบื้องต้น
เป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วย ตัวอย่าง คือการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่หายใจหอบ เหนื่อย มีการให้ยายาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด สำหรับผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่ดีขึ้น ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการทดสอบเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาการติดเชื้อที่แน่นอนของคนไข้ เพื่อจ่ายยาให้ตรงตามอาการของผู้ปวยมากที่สุด หากอาการไม่รุนแรงมากอาจไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่กลับกันคนไข้ที่มีอาการรุนแรงก็จะถูกรักษาตัวอย่างใกล้ชิด
1) ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องอยู่ในที่ที่คนเยอะ
2) พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
3) ล้างมือบ่อย ๆ
4) หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับบุคคลอื่น
5) การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม (Pneumococcus) โดยเฉพาะในเด็กเล็กผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรัง
6) ไม่ควรไปในพื้นที่เสี่ยง ที่มีการระบาดของโรคปอดอักเสบ
7) หากมีไข้ไอเจ็บคอเหนื่อยหอบภายใน 2 สัปดาห์หลังจากเดินทางไปต่างประเทศให้ไปพบแพทย์ทันที
ยิ่งร่างกายอ่อนแอ เชื้อโรคอื่นๆก็สามารถเข้ามาหาเราได้ทุกเมื่อ ไม่เว้นแต่โรคปอดบวมก็ตาม การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอก็เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันที่ทำให้ห่างไกลโรคร้ายได้มากขึ้น คุณสามารถที่จะเลือกออกกำลังกายในช่วงที่ว่างอย่างสม่ำเสมอ การงดบุหรี่ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่