Drink

สารบัญเนื้อหา

งานปาร์ตี้ครั้งใดไม่มีแอลกอฮอล์นั้นคือเรื่องแปลกแต่หากว่านานๆครั้งดื่มก็คงไม่แปลก

แต่ขึ้นชื่อว่าแอลกอฮอล์ก็ไม่มีอะไรที่ส่งผลดีหรอก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพหรือเรื่องอัตรายอื่นๆด้วยเช่นกัน แต่วันนี้เรานั้นมีวิธีที่สามารถดื่มแอลกอฮอล์ ที่ไม่ให้ทำร้ายสุขภาพมากเกินไปได้ จากนพ.ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสมิติเวช มาฝากกันDrink

ไม่อยากตับพัง ต้องดูปริมาณ และชนิดที่ดื่ม

การที่นั้นเลือกจะดื่มแอลกอฮอล์ให้ถูกชนิด ในปริมาณที่เหมาะสม เท่านี้ก็สามารถให้ประโยชน์กับร่างกายได้เช่นกันอย่างเช่น

  • ไวน์ มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10% หรือ 10 ดีกรี
  • เหล้าต่างๆ มีแอลกอฮอล์ประมาณ 35-40% หรือ 35-40 ดีกรี
  • เบียร์ เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ ไม่มาก ราวๆ 5% หรือ 5 ดีกรี
  • วอดก้า บรั่นดี วิสกี้ มีแอลกอฮอล์ประมาณค่อนข้างที่จะสูง ราวๆ 40-50% หรือ 40-50 ดีกรี

ตามขนาดมาตรฐานที่เรามักเรียกกัน คือ 1 ดริ๊งค์ (drink) หรือ 1 แก้วที่มีปริมาณเครื่องดื่มราว 10-14 กรัม หากทำการคำนวณโดยนำปริมาณเครื่องดื่มหน่วยซีซี (cc.) x จำนวนดีกรี x 0.789 (ความถ่วงจำเพาะของแอลกอฮอล์) จะได้ออกเป็นจำนวนแอลกอฮอล์ที่ดื่มไปเป็นหน่วยกรัม ต่อ 1 ดริ๊งค์ หรือ 1 แก้ว

เมื่อคำนวณคร่าวๆ จะได้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่เราสามารถดื่มได้คร่าวๆ ดังนี้จำนวนนี้ถือเป็น 1 ดริ๊งค์ของแอลกอฮอล์ในแต่ละชนิด

  • ไวน์ = ก้นแก้วไวน์ หรือราวๆ 100 cc
  • เหล้า = 2 ใน 3 ของแก้วเป๊ก (แก้วเหล้าเล็กๆ)
  • เบียร์ = ครึ่งแก้วเบียร์ใหญ่ หรือ 3-4 กระป๋องเล็ก หรือไม่เกิน 200-300 cc ต่อวัน

เช่น ไวน์ 100 cc x 10 ดีกรี x 0.789 = 7.89 กรัม คือจำนวนแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปต่อ 1 แก้ว

ปัจจัยเกี่ยวกับปริมาณในนการดื่ม

1.แบ่งตามเพศ

  • ผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้ว
  • ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้ว
  • ส่วนเรื่องที่ทำไมผู้หญิงถึงดื่มได้ในปริมาณทีน้อยกว่านั้นมาจากระบบการกระจายของต๋อมไขมันผู้หญิงที่มีน้อยกว่าผู้ชาย แอลกอฮอร์จึงดูดซึมได้ง่ายและเร็วกว่า

2.กรรมพันธุ์

  • เนื่องจากมนุษย์เรานั้นมีระบบเผาผลาญไม่เหมือนกัน ซึ่งมักทำให้เรานั้นเห็นคนที่เมาง่าย หรือที่เรานั้นชอบเรียกกันว่าคออ่อน และคนคอแข็นั้นเอง ซึ่งส้เหตุนั้นเกิดจากกรรมพันธุ์ของคนนั้นๆด้วย

3.โรคประจำตัว

  • กรณีที่รู้ว่าตัวเองนั้นเป็นโรคตับอยู่ก็ควรที่จะละเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจะเป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น

4.ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง

  • บ้างคนก็อาจจะกลัวเรื่องของแอลกอฮอล์กัดกระเพาะ แต่นอกจากเรื่องนั้นแล้วก็อาจทำให้เมาได้เร็ว และทำร้ายตับได้มากกว่าตอนกระเพาะมีอาหารอยู่

Drink wine

ดื่มแอลกอฮอล์เท่าไร เสี่ยงโรคตับ

การที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 4-5 ดริ๊งค์ต่อวันและติดต่อกันเกิน 5 ปี นั้นคือสัญญาณเตือนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคตับได้ มากกว่าคนปกติโดยอาการเริ่มแรกที่มักจะพบมักจะมีไขมันสะสมที่ตับ หากว่ายังไม่เลิกดื่มและยังดื่มในปริมาณมากๆ เหมือนเดิมติดต่อกันถึง 10 ปี คุณเองก็เข้าข่ายบุคคลที่เสี่ยงเป็นโรคตับแข็งได้

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเป็นโรคตับแข็งของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย กรรมพันธุ์ ปริมาณที่ดื่ม และพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ อีกด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถระบุได้แบบชัดเจน

ดื่มไม่เกินปริมาณที่แนะนำ มีประโยชน์อะไรบ้าง?

  1. ลดคอเลสเตอรอล
  2. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  3. ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
  4. บางรายงานกล่าวว่า ป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ด้วย

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ให้ประโยชน์มากที่สุด คือ

  • ไวน์แดง เพราะไวน์แดงมีสารบางชนิดที่มีผลต่อหลอดเลือดหัวใจที่ทำให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น
  • ไวน์ขาว
  • เหล้าต่างๆ
  • เบียร์ นั้นไม่ค่อยมีผลดีต่อร่างกายมากเท่าไร เพราะมีผลเสียต่อร่างกายมากกว่า เพราะเบียร์จะทำให้ไขมันในร่างกายเพิ่มมากขึ้น และตัวบวม

ดื่มมากๆ ทีเดียว VS ดื่มน้อยๆ แต่ทุกวัน

กรณีที่ดื่มน้อยๆ แต่ก็ดื่มทุกวัน และเป็นการที่ดื่มในปริมาณที่เกินกว่าคำแนะนำ ตับจะค่อยๆแย่ลจนเกิดพังผืดและกลายเป็นตับแข็งในอนาคตได้ในที่สุด

ดื่มมากๆ ทีเดียวไปเลย เป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน หากว่าตัวเองนั้นมีโรคประจำตัวอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ ก็อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคเหล่านั้นได้เช่นกัน ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้

เคล็ดลับการดื่มแอลกอฮอล์ ให้เสี่ยงอันตรายน้อยที่สุด

  1. ดื่มตามปริมาณที่กำหนด
  2. เลือกดื่มไวน์ มากกว่าเหล้า และเบียร์ เพราะมีประโยชน์มากกว่า
  3. ไม่จำเป็นต้องดื่มทุกวัน ถ้าอยากดื่มทุกวันต้องไม่ดื่มมากเกินไป
  4. ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับได้เช่นกัน
  5. ควรรับประทานอาหารลงท้องก่อนดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะได้ไม่ถูกดูดซึมเร็วเกินไป