วันศุกร์, มกราคม 15, 2021
  • Login
168HealthyCare
ADVERTISEMENT
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
HealthNews
No Result
View All Result

วิธีการและเทคนิคลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting (IF)

มาดูกันว่าวิธีลดน้ำหนักแบบ IF หรือการทำ IF คือแบบไหน ยังไง มีประเภทอะไรบ้าง

วิธีการและเทคนิคลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting (IF)
316
SHARES
ShareTweet

การมีสุขภาพดีถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้คนเราสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและมีความสุข ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมทำให้การใช้ชีวิตของคนเราเปลี่ยนไป อาหารการกินต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น และให้พลังงานมากขึ้นด้วย จึงทำให้หลายคนประสบกับปัญหากับการสะสมของไขมันส่วนเกินตามร่างกาย และเกิดปัญหาด้านน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งทำให้เรามีรูปร่างอ้วนจนดูสุขภาพไม่ดี

หากจะต้องลดน้ำหนักก็มักจะหมายถึงการที่เราต้องงดของชอบ ทั้งของหวาน และของมัน ซึ่งอาจทำให้หลายคนรู้สึกปวดใจกับการที่ไม่สามารถรับประทานอาหารอย่างใจต้องการได้ แต่มีวิธีลดน้ำหนักวิธีหนึ่งที่ไม่ต้องอดอาหารที่ชอบแต่อย่างใด ทำให้เราสามารถมีความสุขกับอาหารได้อย่างเดิม นั่นคือ วิธีลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting (IF)

วิธีการและเทคนิคลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting (IF) 1

ประเภทของการลดน้ำหนักแบบ IF

วิธีการลดน้ำหนักแบบ IF หรือ Intermittent Fasting คือ วิธีการลดน้ำหนักง่ายๆ ที่ใช้การจำกัดเวลาในการทานอาหาร อาจมีการควบคุมแคลอรี่ของอาหารใรแต่ละมื้อ การลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้จะมีการแบ่งช่วงเวลาอาหารเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาสำหรับการรับประทานอาหาร (Feeding) และช่วงเวลาสำหรับการอดอาหาร (Fasting) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. TRF: Time-restricted feeding

การทำ IF ประเภทนี้เป็นการจำกัดระยะเวลารับประทานอาหารของแต่ละวัน วิธีนี้จะมีการแบ่งเวลาอาหารในวันหนึ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาในการรับประทานอาหาร และช่วงเวลาในการอดอาหาร โดยอาจแบ่งระยะเวลาสำหรับการรับประทานอาหาร 4-12 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเวลาอื่นนั้นให้งดการรับประทานอาหารใดๆ แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ตามปกติ การลดน้ำหนักประเภทนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการลดน้ำหนักแบบ IF สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

    • Overnight Fasting 12:12
    • Fasting 14:10
    • Lean Gains 16:8
    • Fast 5 (19:5)
    • Warrior Diet 20:4
  1. WDF: Whole-day fasting

การจำกัดการรับประทานอาหารแบบงดการรับประทานอาหารเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือมีการจำกัดจำนวนแคลอรี่อาหารที่สามารถรับประทานได้ในแต่ละวัน โดยจะมีการจำกัดอาหารเช่นนี้เป็นเวลา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออดอาหารแบบวันเว้นวัน ซึ่งจะทำให้รู้สึกหิวได้ง่ายกว่าปกติ และอาจไม่ดีต่อสุขภาพมากนัก การลดน้ำหนักแบบ IF ประเภทนี้สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

    • Fast Diet 5:2
    • Eat, Stop, Eat
    • Alternate-day fasting (ADF)

วิธีการและเทคนิคลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting (IF) 2

วิธีการลดน้ำหนักแบบ IF ประเภท Time-restricted feeding

Overnight Fasting 12:12

วิธีการลดน้ำหนักแบบ Overnight Fasting 12:12 วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ที่ทำการเริ่มต้นลดน้ำหนักแบบ IF เพราะเป็นวิธีที่มีความสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ โดยแบ่งช่วงอาหารเป็นสองช่วง คือ ช่วงระยะเวลาในการรับประทานอาหาร 12 ชั่วโมง และช่วงระยะเวลาในการอดอาหาร 12 ช่วงโมง

การรับประทานอาหารของคนทั่วไปมักจะเริ่มอาหารมื้อแรกในตอนเช้าก่อนการทำงาน หรือก่อนทำกิจกรรมต่างๆ ของวันนั้น แล้วรับประทานอาหารมื้อที่สองในช่วงพักวงกลางวัน และรับประทานมื้อเย็นหลังเสร็จสิ้นจากการทำงาน การทำ IF แบบ Overnight Fasting 12:12 จึงเหมาะสมกับคนที่ต้องเริ่มงานในตอนเช้าและเลิกงานในเวลาเย็น

Fasting 14:10

วิธีการลดน้ำหนักแบบ Fasting 14:10 เป็นวิธีที่ง่ายรองลงมาจาก Overnight Fasting เพราะเป็นวิธีที่ค่อนข้างสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา โดยแบ่งช่วงอาหารเป็นสองช่วง คือ ช่วงระยะเวลาในการรับประทานอาหาร 10 ชั่วโมง และช่วงระยะเวลาในการอดอาหาร 14 ช่วงโมง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นการทำ IF

Lean Gains 16:8

การลดน้ำหนักแบบ Lean Gains 16:8 วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมาก เนื่องจากไม่ทำให้ร่างกายรู้สึกหิวระหว่างวันมากนัก โดยวิธีนี้จะแบ่งช่วงเวลาอาหารในแต่ละวันเป็นสองช่วง คือ ช่วงเวลาสำหรับอดอาหาร 16 ชั่วโมง และช่วงเวลาสำหรับรับประทานอาหาร 8 ชั่วโมง วิธีนี้เป็นวิธีการทำ IF ที่เหมาะกับผู้มีความคุ้นเคยในการอดอาหารมาก่อน และมีกิจวัตรประจำวันที่สามารถรับประทานอาหารตรงเวลา ซึ่งจะช่วยให้การลดน้ำหนักมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

Fast 5 (19:5)

การลดน้ำหนักแบบ Fast 5 หรือ 19:5 จะมีการแบ่งช่วงเวลาอาหารเป็นสองช่วง โดยวิธีนี้จะมีช่วงเวลาในแต่ละวันสำหรับการรับประทานอาหารเพียง 5 ชั่วโมง และมีช่วงเวลาสำหรับอดอาหาร 19 ชั่วโมง วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นการลดน้ำหนักแบบ IF และอาจทำให้รู้สึกหิวระหว่างวัน

Warrior Diet 20:4

วิธีลดน้ำหนักแบบ Warrior Diet 20:4 จะแบ่งช่วงระยะเวลาอาหารในแต่ละวันของคนเราเป็นสองช่วง โดยมีช่วงเวลาในการรับประทานอาหาร 4 ชั่วโมง และมีช่วงเวลาอดอาหาร 20 ชั่วโมง วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้เพิ่งเริ่มต้นการลดน้ำหนักแบบ IF และอาจทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกหิวระหว่างวันมากเกินไป ผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้มักจะรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว โดยจัดเป็นอาหารมื้อใหญ่ที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายและรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ

วิธีการลดน้ำหนักแบบ IF ประเภท WDF: Whole-day fasting

Fast Diet หรือ 5:2

การลดน้ำหนักด้วยวิธี Fast Diet 5:2 จะใช้การควบคุมแคลอรี่ในการรับประทานอาหาร โดยในหนึ่งสัปดาห์จะมีการจำกัดอาหารสองวัน โดยวันที่จำกัดอาหารจะควบคุมแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับให้ไม่เกิน 500-600 กิโลแคลอรี่ต่อวัน สำหรับผู้หญิงให้รับประทานอาหารได้ไม่เกิน 500 กิโลแคลอรี่ สำหรับผู้ชายให้รับประทานอาหารได้ไม่เกิน 600 กิโลแคลอรี่ หรือบางคนอาจใช้วิธีการอดอาหารสองครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ แต่การลดน้ำหนักด้วยวิธีควบคุมแคลอรี่จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าการงดรับประทานไปเลย

การลดน้ำหนักด้วยวิธี Fast Diet 5:2 เป็นการพัฒนามาจาก Alternate-day fasting (ADF) จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Alternate-day modified fasting บางแห่งอาจเรียกว่า Fasting Twice a Week

Eat, Stop, Eat

การลดน้ำหนักด้วยวิธี Eat, Stop, Eat เป็นการลดน้ำหนักแบบไม่รับประทานอาหารเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง หรือสองครั้งต่อสัปดาห์ วิธีนี้อาจทำให้รู้สึกหิวและมีอาการโหยในวันที่อดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และเกิดความเครียด ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ วิธีนี้อาจได้ผลสำหรับกับบางคน แต่เราไม่แนะนำให้ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารทั้งวัน

Alternate-day fasting (ADF)

การลดน้ำหนักด้วยวิธี Alternate-day fasting เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ถือว่าสุดโต่งที่สุดในการทำ IF เนื่องจากเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่มีการอดอาหารแบบวันเว้นวัน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายรับภาระหนักมากเกินไปจากการอดอาหาร วิธีนี้จะมีการรับประทานอาหารในหนึ่งวัน สลับกับการอดอาหารหนึ่งวัน แล้วสลับมารับประทานอาหารในวันต่อมา ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ ซึ่งเราไม่แนะนำให้ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารทั้งวัน การลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้สำหรับวันที่มีการอดอาหาร บางคนอาจมีการรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำบ้างเล็กน้อย

วิธีทำ IF สำหรับผู้เริ่มต้นลดน้ำหนักด้วยตนเอง

การเริ่มต้นลดน้ำหนักด้วยการทำ IF สำหรับผู้ที่ไม่เคยลดน้ำหนักมาก่อน หรือไม่เคยลองลดน้ำหนักแบบ IF เลย แนะนำให้ใช้วิธีการทำ IF แบบ Overnight Fasting 12:12 หรือ Fasting 14:10 เนื่องจากสองวิธีนี้เป็นวิธีที่มีการจำกัดช่วงเวลาอาหารน้อยกว่าวิธีอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถรับประทานอาหารได้ครบสามมื้อในเวลาช่วงที่เหมาะสม โดยไม่ต้องอดอาหารนานเกินไปจนอาจเกิดอาการโหยระหว่างวัน

เราขอยกตัวอย่างการเริ่มต้นอาหารมื้อแรกของวันในเวลา 7 โมงเช้า ด้วยการทำ IF แบบ Overnight Fasting 12:12 และการทำ IF แบบ Fasting 14:10 ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

Overnight Fasting 12:12

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นการทำ IF แบบ Overnight Fasting 12:12 หากเริ่มต้นการรับประทานอาหารเช้าในเวลา 7 โมงเช้า ควรรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อนเวลา 1 ทุ่ม (เวลารับประทานอาหาร 07.00 – 19.00 น.) หลังจากนั้นให้งดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมง (งดรับประทานอาหาร 19.00 – 07.00 น.) และรับประทานอาหารอีกครั้งในเวลา 7 โมงเช้าของวันถัดไป วิธีนี้เราจะมีเวลาในการรับประทานอาหาร 12 ชั่วโมง

Fasting 14:10

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นการทำ IF แบบ Fasting 14:10 หากเริ่มต้นรับประทานอาหารเช้าในเวลา 7 โมงเช้า ควรรับประทานมื้อเย็นก่อน 5 โมงเย็น (เวลารับประทานอาหาร 07.00 – 17.00 น.) หลังจากนั้นให้งดอาหารเป็นเวลา 14 ชั่วโมง (งดรับประทานอาหาร 17.00 – 07.00 น.) และรับประทานอาหารอีกครั้งในเวลา 7 โมงเช้าของวันถัดไป วิธีนี้เราจะมีเวลาในการรับประทานอาหาร 10 ชั่วโมง

เวลาในการรับประทานอาหารของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามความสะดวกของแต่ละบุคคล ซึ่งจะเริ่มต้นเมื่อเวลาใดก็ได้ วิธีการนับเวลาอาหารให้นับตั้งแต่เวลาเริ่มต้นมื้อแรกของวัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีควรรับประทานให้ตรงเวลา โดยควรเริ่มต้นมื้อแรกในตอนเช้า และไม่รับประทานอาหารในช่วงกลางคืน

วิธีลดน้ำหนักแบบ IF ที่นิยมมากที่สุด

การลดน้ำหนักแบบ IF ที่นิยมมากที่สุด คือ Lean Gains 16:8 วิธีนี้จะมีช่วงเวลาในการรับประทานอาหาร 8 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่ใช้การลดน้ำหนักวิธีนี้ส่วนใหญ่มักจะเริ่มรับประทานอาหารในช่วงเวลาสาย โดยเริ่มต้นอาหารมื้อแรกในเวลาประมาณ 10 โมงเช้า แล้วรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อน 6 โมงเย็น (เวลาในการรับประทานอาหาร 08.00 – 18.00 น.) หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการรับประทานอาหารตามความเหมาะสม วิธีนี้จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็วขึ้นหากมีการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมและตรงตามเวลา ซึ่งจะช่วยให้รูปร่างของคุณผอม สวย ดูดี และสุขภาพดี

การทำ IF ต้องควบคุมอาหารไหม?

วิธีการทำ IF โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีการควบคุมอาหาร และไม่มีการจำกัดแคลอรี่ที่สามารถรับประทานได้ได้ต่อวัน จึงเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการลดน้ำหนักทั่วไป เพราะไม่ทำให้เกิดการกดดันตัวเองมากเกินไป จึงลดโอกาสที่จะเกิดความเครียดจากการอดอาหารที่ชอบเป็นเวลานานๆ การกินอาหารอย่างเต็มที่หลังจากที่ต้องอดอาหารจะทำให้ร่างกายรู้สึกได้รับการชดเชย จึงทำให้รู้สึกดีที่จะลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ต่อไป หากต้องการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ไม่ควรลดปริมาณอาหารมากจนเกินไป เพราะอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอได้

การทำ IF แบบควบคุมอาหารมีเพียงแค่การทำ IF แบบ Fast Diet 5:2 เท่านั้นที่จะควบคุมแคลอรี่อาหารที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งจะมีการควบคุมอาหารให้ไม่เกิน 500-600 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เป็นเวลาสองครั้งต่อสัปดาห์

ลดน้ำหนักแบบ IF ควรกินอย่างไร?

สำหรับการลดน้ำหนักด้วยการทำ IF จะมีการแบ่งช่วงเวลาอาหารเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเวลาอาหาร และช่วงเวลาอดอาหาร ประเภทอาหารที่รับประทานได้จะแบ่งตามช่วงเวลา ดังนี้

  • ช่วงเวลาอาหาร

สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ และควรรับประทานอาหารให้อิ่ม ไม่ควรปล่อยให้ตนเองรู้สึกหิวในช่วงเวลานี้ เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังขาดอาหารมากจนเกินไปแล้ว ประเภทอาหารที่รับประทานสามารถรับประทานอาหารตามใจชอบได้ เพื่อให้รู้สึกมีความสุขและสร้างกำลังใจในการลดน้ำหนักให้แก่ตนเอง หรืออาจรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรง

  • ช่วงเวลาอดอาหาร

ควรหลีกเลี่ยงจากการรับประทานอาหารทุกชนิด ไม่ควรรับประทานอาหารอะไรเลย ควรงดเครื่องดื่มให้ความหวานและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง หากรู้สึกกระหายสามารถดื่มน้ำเปล่าได้ตามปกติ แต่หากรู้สึกหิวมากจนทนไม่ไหวอาจรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำได้บ้าง และเป็นไปได้ว่าวิธีการอดอาหารแบบที่เลือกใช้อยู่นั้นไม่เหมาะสม ควรปรับเปลี่ยนด้วยการทำ IF วิธีอื่นที่มีจำนวนเวลาในการรับประทานอาหารที่มากขึ้น และไม่ต้องอดอาหารนานเกินไป เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องรับภาระจากการลดน้ำหนักที่หนักจนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

ในกรณีที่เป็นการทำ IF แบบ Whole-day fasting คือ มีช่วงเวลาการอดอาหารแบบ 24 ชั่วโมง แนะนำให้จำกัดอาหารแทนการอดอาหาร บางคนอาจเคยลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้แล้วได้ผลดี แต่ไม่ใช่ว่าวิธีที่จะเหมาะสมกับทุกคน ดังนั้นการจำกัดอาหารให้เหลือเพียง 500-600 กิโลแคลอรี่ในช่วงเวลาอดอาหาร ก็ถือว่าเป็นการลดน้ำหนักที่มากเพียงพอแล้ว หรือหากร่างกายยังคงรู้สึกหิวอยู่ แนะนำให้พิจารณาการทำ IF วิธีอื่นแทน

อาหารสำหรับการลดน้ำหนัก

การรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี และช่วยในการลดน้ำหนักได้ สามารถทำได้โดยการจัดสัดส่วนของอาหารให้เหมาะสม โดยแบ่งส่วนของจานเป็น 4 ส่วน และจัดอัตราส่วนของอาหารเป็น 2:1:1 ในหนึ่งจาน

  • 2 ส่วนเป็นอาหารที่ให้พลังงานในกลุ่มของวิตามินและแร่ธาตุ เช่น ผัก
  • 1 ส่วนเป็นอาหารที่ให้พลังงานในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวขาว ข้าวกล้อง
  • 1 ส่วนเป็นอาหารที่ให้พลังงานในกลุ่มของโปรตีนและไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ (แนะนำให้เป็นเนื้อสัตว์แบบไม่ติดมัน)

หลังจากรับประทานเรียบร้อยแล้ว อาจมีการรับประทานอาหารอื่นเพิ่มเติม เช่น นมสด นมถั่วเหลือง และผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการอาหาร 5 หมู่ และควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารหรือไฟเบอร์อยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยให้การทำงานของร่างกายมีความสมบูรณ์ ทำให้รู้สึกอิ่มได้ง่ายขึ้น ลดความอยากอาหาร และช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ จึงช่วยในการลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

การทำ IF ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร ?

หากพูดโดยหลักการวิทยาศาสตร์แล้ว การลดน้ำหนักแบบ IF สามารถช่วยลดน้ำหนักได้จากการที่เรารับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา และมีระยะเวลาในการอดอาหารนานๆ โดยจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนสำคัญ คือ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) และฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)

  • โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งโดยปกติแล้วจะร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเมื่อคนเรานอนหลับสนิทในเวลากลางคืน แต่นอกจากการนอนหลับแล้ว การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารประเภทโปรตีน และความรู้สึกหิวก็สามารถทำให้ร่างกายเพิ่มการหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาได้เช่นกัน ซึ่งสามารถช่วยในการลดไขมันในร่างกาย ลดน้ำหนัก และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จึงทำให้เราน้ำหนักลดลงและมีร่างกายแข็งแรง

  • ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)

ฮอร์โมนอินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงผลของระดับฮอร์โมนอินซูลินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ร่างกายของคนเรามีแหล่งพลังงานสะสมซึ่งเป็นพลังงานสำรองที่ถูกเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น โดยฮอร์โมนอินซูลินจะทำหน้าที่ในการสร้างพลังงานสำรองนี้ หรือก็คือ ไกลโคเจน (Glycogen) โดยสร้างจากน้ำตาลกลูโคสแล้วเก็บสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อและตับ เมื่อเราอดอาหารเป็นระยะเวลาหนึ่งก็จะทำให้ระดับฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง และร่างกายก็จะรู้สึกขาดอาหาร

เมื่อร่างกายขาดอาหารก็จะไปดึงพลังงานจากน้ำตาลที่ชื่อ ไกลโคเจนมาใช้เป็นพลังงานสำรอง แต่หากเราขาดอาหารเป็นเวลานานจนพลังงานไกลโคเจนมีไม่เพียงพอ หรือขาดอาหารนานเกิน 10 ชั่วโมงขึ้นไป ร่างกายเราจะเกิดภาวะขาดน้ำตาล ส่งผลให้ร่างกายของเราต้องไปดึงพลังงานจากไขมันมาใช้แทน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้น้ำหนักตัวลดลง ช่วยให้เราผอมลงแล้วกลับมามีรูปร่างดี และมีสุขภาพแข็งแรง

ข้อดีของการลดน้ำหนักแบบ IF

  • สามารถรับประทานอาหารที่ชอบได้ตามปกติ
  • ช่วยให้รับประทานอาหารเป็นเวลา
  • ช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง และลดปริมาณไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  • มีหลายวิธีในการทำ IF ให้เราสามารถเลือกปรับใช้ให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของตนเอง

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักแบบ IF

  • ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านการขาดสารอาหาร
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ต้องควบคุมอาหารเป็นประจำ
  • ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร

การลดน้ำหนักด้วยการทำ IF นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง และควรเริ่มต้นจากวิธีที่ง่ายที่สุดก่อน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวกับการอดอาหารเป็นระยะเวลานานได้ การใช้ชีวิตอย่างเป็นเวลา การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การออกกำลังกาย และการนอนหลับให้เพียงพอ จะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายสามารถทำได้อย่างดี ช่วยให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานได้อย่างเหมาะสม ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ได้อย่างเป็นปกติ ทำให้เราสามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว และมีสุขภาพดี

Facebook Comments
316
SHARES
ShareTweet
Next Post
คีโตเจนิค (Ketogenic) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

คีโตเจนิค (Ketogenic) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

168HealthyCare

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Advertise & Partners

  • รับทำ SEO
  • ประกันสุขภาพ
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้าน
  • โควิด19
  • Sitemap
  • Contact

Social Network

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In