กลัวเข็มฉีดยา เช็กสิ! คุณเข้าข่ายโรคโฟเบียหรือเปล่า?
เรามักจะเห็นเด็กๆร้องไห้ยามที่พวกเขาโดนคุณหมอฉีดยา นั่น […]
บางครั้งในขณะที่เราทำงานอยู่ อยู่ดีๆ นิ้วมือของเราก็อาจเกิดการติดขัดขึ้นมา จะงอนิ้วหรือเหยียดนิ้วก็ไม่ได้ จะขยับไปมาก็รู้สึกเจ็บ อาการเหล่านี้เรียกว่า อาการนิ้วล็อค สำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคในระยะแรกๆ คือ อาการนิ้วล็อคระยะที่ 1 และอาการนิ้วล็อคระยะที่ 2 เป็นระยะที่ยังสามารถเคลื่อนไหวนิ้วมือได้ เพียงอาจจะรุ้สึกเจ็บหรือมีการสะดุดเล็กน้อยเมื่องอนิ้ว ซึ่งถือว่าอาการยังไม่รุนแรงนัก จะสามารถจะบรรเทาอาการและรักษานิ้วล็อคได้ด้วยตัวเอง
สารบัญเนื้อหา
การรักษานิ้วล็อคด้วยตัวเองสามารถทำได้กับผู้ที่ยังอยู่ในระยะแรกเริ่มของภาวะนิ้วล็อค ซึ่งเป็นระยะที่อาการไม่รุนแรง การรักษาจะสามารถบรรเทาอาการให้เจ็บปวดน้อยลง ช่วยให้กล้ามเนื้อมือและนิ้วผ่อนคลายและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น โดยวิธีรักษาอาการนิ้วล็อคมี 2 วิธี ดังนี้
วิธีการรักษานิ้วล็อคด้วยการแช่น้ำอุ่น สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด บวม ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อมือและนิ้ว ทำได้โดยมีขั้นตอนต่างๆ คือ
ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรหมั่นทำเป็นประจำทุกเช้า เพื่อบรรเทาอาการของนิ้วล็อค ในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะนำสมุนไพรมาต้มเพื่อทำการรักษา สามารถใช้เพียงแค่น้ำเปล่าอุ่นๆ ธรรมดาก็ได้
วิธีรักษานิ้วล็อคด้วยการนวดมือ สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือผ่อนคลาย ลดอาการปวดเกร็งลงได้ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะมือและนิ้วมือได้ บริเวณที่ควรต้องเน้นในการนวด ได้แก่
การจะบรรเทาและรักษาอาการนิ้วล็อควิธีอื่นๆ สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้นิ้วมือและมือทำงานหนัก จำเป็นต้องพักผ่อนการใช้มือทำงานอย่างน้อยอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานอย่างเป็นประจำ ผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานด้วยนิ้วมือและมือได้ อาจจะใช้วิธีการพักมือระหว่างวัน โดยหาเวลาที่สะดวกพักเหยียดนิ้วมือและนวดมือเล็กน้อย เพื่อป้องกันการปวดเกร็งจนเกิดการอักเสบ ซึ่งจะส่งผลให้อาการนิ้วล็อครุนแรงขึ้น
[spacing size=”25″]
การรักษานิ้วล็อคด้วยวิธีต่างๆ ที่กล่าวมา เป็นเพียงวิธีรักษาเบื้องต้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการนิ้วล็อคเท่านั้น อาจไม่ช่วยทำให้หายขาดจากโรคนิ้วล็อคได้ หากมีโอกาสควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคอย่างรุนแรง ควรทำการรักษาโดยการพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยอาการเพื่อให้การรักษาพยาบาลที่เหมาะสมตามระดับความรุนแรงของอาการโรคนิ้วล็อคต่อไป
เรามักจะเห็นเด็กๆร้องไห้ยามที่พวกเขาโดนคุณหมอฉีดยา นั่น […]
เรามักจะเห็นข่าวบ่อยๆ ที่มีคนวิ่งในงานมาราธอน หรือฮาล์ฟ […]
อาการเบื่องานที่ทำ รู้สึกอยากพักผ่อน อยากหนีไปจากงานที่ […]
อาการไอเป็นอาการปกติที่พบได้ทั่วไป แต่หากมีอาการไอติดต่ […]
คนที่มีลูกก็อยากให้ลูกเติบโตมาอย่างแข็งแรง ร่าเริง สดใส […]
จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่าพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดมะเขือเ […]