วันเสาร์, มกราคม 16, 2021
  • Login
168HealthyCare
ADVERTISEMENT
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
HealthNews
No Result
View All Result

รู้ไว้ก่อนไปโรงพยาบาล วิธีการรักษานิ้วล็อคมีอะไรบ้าง?

รักษาอาการนิ้วล็อคได้ง่ายๆ ด้วยวิธีทางการแพทย์

รู้ไว้ก่อนไปโรงพยาบาล วิธีการรักษานิ้วล็อคมีอะไรบ้าง?
158
SHARES
ShareTweet

ในชีวิตประจำวันของคนเรา อาจมีบ้างที่จะต้องเจอกับปัญหาติดขัดบางอย่างที่ทำให้เกิดความไม่สะดวกในชีวิต และบางครั้งบางที ร่างกายของเราเองก็มีอาการติดขัดได้เช่นกัน เช่น อาการนิ้วล็อค ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบากในการใช้นิ้วและมือเพื่อทำสิ่งต่างๆ หากอยู่ในระยะเบื้องต้นสามารถรักษาด้วยตนเองได้ แต่เพื่อผลดีต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพมือของเราแล้ว การรักษากับแพทย์ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

สำหรับผู้ที่กังวลว่าการรักษานั้นจะเป็นยังไง มีอะไรบ้าง นิ้วล็อคต้องผ่าตัดอย่างเดียวรึเปล่า? บทความนี้เราจะให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาทางการแพทย์กัน ซึ่งวิธีรักษานิ้วล็อคมี 2 วิธี ดังนี้

รู้ไว้ก่อนไปโรงพยาบาล วิธีการรักษานิ้วล็อคมีอะไรบ้าง?

  1. การรักษาด้วยยา

    • การรับประทานยา

วิธีกรักษาด้วยการรับประทานยาจะใช้ยาต้านอาการอักเสบ ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบ และลดอาการปวดได้ แต่ไม่ช่วยบรรเทาอาการบวมของปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือ

    • การฉีดยา

วิธีรักษาด้วยการฉีดยา เหมาะจะใช้สำหรับผู้ที่มีระยะอาการนิ้วล็อค ในระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3 โดยแพทย์จะทำการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่บริเวณโคนนิ้วมือ เพื่อลดอาการอักเสบ และอาการปวดบวม ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาจะมีอาการดีขึ้นและหายขาด แต่บางรายอาจไม่หายขาดจากโรค

นิ้วมือที่มีอาการนิ้วล็อคแต่ละนิ้วไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง หากฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ซ้ำกันหลายครั้งอาจเกิดอันตรายต่อนิ้วมือ และอาจมีอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เอ็นขาดได้ การรักษาด้วยการผ่าตัดจะเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า

รู้ไว้ก่อนไปโรงพยาบาล วิธีการรักษานิ้วล็อคมีอะไรบ้าง?

  1. การรักษาด้วยการผ่าตัด

    • การผ่าตัดแบบเปิด

วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดแบบเปิด จะช่วยให้มองเห็นตำแหน่งของจุดที่ต้องผ่าตัดได้อย่างชัดเจน แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด แล้วจึงเปิดแผลบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการนิ้วล็อค โดยกรีดผ่าปลอกหุ้มเอ็น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำการผ่าตัดด้วยวิธีนี้เมื่อผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้วจะสามารถกลับบ้านได้ทันที แต่ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสบาดแผล รวมถึงหลีกเลี่ยงการทำสิ่งต่างๆ ที่จะกระทบต่อแผลที่เพิ่งผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

    • การผ่าตัดแบบปิด

วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบปิด จะใช้เข็มแทงเข้าไปเขี่ยหรือสะกิดปลอกหุ้มเอ็นให้คลายออกผ่านผิวหนัง ซึ่งเป็นค่อนข้างสะดวกและรวดเร็วมาก วิธีนี้มีโอกาสที่จะเกิดแผลน้อย แต่อาจมีอันตรายจากผลแทรกซ้อนต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาทบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง กล่าวคือ หากเขี่ยหรือสะกิดถูกเส้นเอ็นหรือเส้นประสาทอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือพิเศษในการผ่าตัดนิ้วล็อคที่เรียกว่า A-knife เป็นมีดผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนัง มีดจะมีลักษณะพิเศษที่ช่วยป้องกันการเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาท ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำการรักษาได้ดีและรวดเร็วขึ้น โดยใช้เวลารักษาประมาณ 1 นาที แผลกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร จึงไม่จำเป็นต้องเย็บแผล เมื่อผ่าตัดเสร็จสามารถใช้มือได้ทันที และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันอย่างปกติ

นิ้วล็อค เป็นอาการที่ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ เบื้องต้นอาจทำการรักษานิ้วล็อคด้วยตนเอง หรืออาจใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งจะเป็นวิธีการรักษาที่ดีสุด ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การรักษาจะช่วยทำให้เราสามารถกลับมามีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็วทั้งร่ายกายและจิตใจ

Facebook Comments
158
SHARES
ShareTweet
Next Post
หักนิ้วบ่อยครั้ง ระวังข้อนิ้วใหญ่ได้นะ!

หักนิ้วบ่อยครั้ง ระวังข้อนิ้วใหญ่ได้นะ!

168HealthyCare

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Advertise & Partners

  • รับทำ SEO
  • ประกันสุขภาพ
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้าน
  • โควิด19
  • Sitemap
  • Contact

Social Network

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In