วันพุธ, มีนาคม 3, 2021
  • Login
168HealthyCare
ADVERTISEMENT
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
HealthNews
No Result
View All Result

เล็บฉีก ทำยังไงดีนะ? มารู้จักวิธีดูแลเล็บฉีกกันเถอะ

เล็บฉีก ทำยังไงดีนะ? มารู้จักวิธีดูแลเล็บฉีกกันเถอะ
237
SHARES
ShareTweet

เมื่อเล็บสวยๆ ของเราอ่อนแอและเปราะบาง ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาฉีกขาดง่ายตามมา ซึ่งสร้างปัญหาให้กับหลายคนเป็นอย่างมาก บางคนอาจมีปัญหาปลายเล็บแหว่ง บิดเบี้ยวจนรูปทรงไม่สวยงาม บางคนอาจมีปัญหาเล็บหักหรือฉีกลึกเข้าถึงเนื้อ ด้วยปัญหาเล็บที่แตกต่างกันทำให้หลายคนสงสัยว่าเล็บฉีก ทำยังไงดี? วิธีแก้ปัญหาเล็บฉีกขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของเล็บ สามารถแบ่งได้ดังนี้

อาการเล็บฉีกเล็กน้อย

  • เล็บฉีกขาดเล็กน้อยบริเวณปลายเล็บ

หากเล็บฉีกเพียงเล็กน้อยที่บริเวณปลายเล็บ สามารถแก้ไขได้โดยใช้กรรไกรตัดเล็บตัดออก โดยตัดเล็บบริเวณปลายๆ ตัดแต่งให้เข้ากับรูปทรงตามธรรมชาติของเล็บ แล้วตะไบขอบเล็บอีกเล็กน้อยให้ดูเรียบร้อยสวยงาม

  • เล็บฉีกจนเห็นชัดว่าปลายเล็บแหว่ง

หากเล็บฉีกเพียงเล็กน้อยที่บริเวณปลายเล็บ แต่สามารถมองเห็นได้ว่ามีรอยแหว่งผิดไปจากปกติ สามารถแก้ไขโดยใช้กรรไกรตัดเล็บตัดออก โดยต้องตัดเล็บให้ลึกขึ้นจนถึงบริเวณส่วนที่ฉีกขาด ตัดแต่งรอบเล็บให้สวยงามตามธรรมชาติของเล็บ แล้วตะไบขอบเล็บให้เรียบร้อย

  • เล็บฉีกจนเกือบจะเข้าเนื้อ

หากเล็บฉีกขาดลึกมากๆ อาจจำเป็นต้องตัดเล็บในส่วนที่เป็นสีขาวทั้งหมดของเล็บในนิ้วนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ฉีกเข้าเนื้อจนอาจสร้างความบาดเจ็บแก่นิ้วได้ ไม่จำเป็นต้องตะไบเล็บ เพราะขอบเล็บชิดกับเนื้อมากจนการตะไบเล็บอาจทำให้รู้สึกเจ็บได้ และอาจต้องปิดรอบเล็บด้วยพลาสเตอร์ปิดแผล เพื่อป้องกันรอยฉีกขาดของเล็บไปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จนเกิดแผล

เล็บฉีก ทำยังไงดีนะ? มารู้จักวิธีดูแลเล็บฉีกกันเถอะ

อาการเล็บฉีกมาก

  • เล็บฉีกจนเข้าเนื้อ

การรักษาอาการเล็บฉีกลึกจนเข้าเนื้อสามารถรักษาได้ด้วยพลาสเตอร์ปิดแผล วิธีการรักษาเล็บฉีกวิธีนี้ จะใช้พลาสเตอร์สำหรับปิดแผลปิดรอบเล็บที่มีรอยฉีกขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เล็บฉีกลึกมากกว่าเดิม โดยจะต้องเปลี่ยนพลาสเตอร์อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง เช็ดทำความสะอาดรอบเล็บทุกวันอย่างเบามือเสมอ และต้องระวังไม่ให้เล็บอับชื้น ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคเชื้อราได้ จากนั้นรอให้เล็บยาวขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือหากมีอาการรุนแรงหรือมีอาการปวดร่วมด้วยควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

อาการเล็บฉีกเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ

  • เล็บฉีกเพราะอุบัติเหตุ

การรักษาเล็บฉีกจากอุบัติเหตุจำเป็นต้องดูลักษณะอาการของเล็บก่อน หากมีอาการทั่วไปที่เข้าข่าย “อาการเล็บฉีกเล็กน้อย” ให้แก้ไขด้วยวิธีแบบเดียวกันได้ทันที แต่หากเล็บมีการบอบช้ำควรรักษาด้วยการประคบเย็น โดยใช้ผ้าห่อรอบเล็บและนิ้วมือให้เรียบร้อย จากนั้นประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือใช้ผ้าห่อน้ำแข็งแล้วประคบลงบริเวณที่บาดเจ็บ กรณีมีอาการปวดร่วมด้วยให้รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากมีอาการรุนแรงมากควรพบแพทย์

  • เล็บฉีกเพราะโรคผิวหนัง

กรณีที่ปัญหาเล็บฉีกเกิดจากโรคผิวหนัง เช่น โรคเชื้อรา สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา โดยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนซื้อยามาใช้ ยาที่ใช้ในการรักษาจะมีทั้งยารับประทาน และยาทาเฉพาะที่ กรณีที่มีอาการของโรคค่อนข้างมากควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยอาการ และทำการรักษาต่อไป

ปัญหาเล็บฉีกโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นปัญหาที่ไม่รุนแรงมากนัก สามารถทำการแก้ไขและรักษาได้ด้วยตนเอง และป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการเล็บฉีก สำหรับการดูแลรักษาเล็บฉีกสามารถทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ข้างต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเอง ในกรณีที่รักษาด้วยตนเองแล้วยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับอาการต่อไป

 

Facebook Comments
237
SHARES
ShareTweet
Tags: เล็บและวิธีการดูแลเล็บ
Next Post
ล้างมือบ่อยครั้ง ระวังเล็บเปราะบางได้นะ!

ล้างมือบ่อยครั้ง ระวังเล็บเปราะบางได้นะ!

168HealthyCare

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Advertise & Partners

  • รับทำ SEO
  • ประกันสุขภาพ
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้าน
  • โควิด19
  • Sitemap
  • Contact

Social Network

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In