วัคซีนพื้นฐานสำคัญอย่างไร มีอะไรบ้าง

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพของเรา ช่วยให้ร่างกายของแข็งแรง ไม่ต้องกังวลใจกับโรคหรืออาการเจ็บป่วยใดๆ และวัคซีนก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้เรามีภูมิต้านทานต่อโรคภัยได้เป็นอย่างดี วัคซีนหลักๆ ที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับมีชื่อเรียกกันว่า วัคซีนพื้นฐาน

สารบัญเนื้อหา

วัคซีนพื้นฐานคืออะไร?

วัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนบังคับ (Compulsory Vaccine) (EPI) คือ วัคซีนที่อยู่ในแผนการสร้างเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกำหนดไว้ว่าเด็กไทยทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญต่างๆ รวมถึงโรคที่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กไทยทุกคนในประเทศไทยสามารถรับวัคซีนตามกำหนด โดยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับผิดชอบในการจัดหาวัคซีนต่างๆ และทำการกระจายวัคซีนไปยังคลังวัคซีนระดับอำเภอทุกแห่ง เพื่อให้ทุกคนได้รับวัคซีนที่จำเป็นอย่างทั่วถึง

วัคซีนพื้นฐานสำคัญอย่างไร มีอะไรบ้าง

ขอบคุณรูปภาพจาก : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

วัคซีนพื้นฐานมีอะไรบ้าง

วัคซีนสำคัญที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญต่างๆ ที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับ ประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด คือ

  1. วัคซีนวัณโรค (BCG)

    วัคซีนวัณโรค เป็นวัคซีนสำคัญที่ควรได้รับตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันโรควัณโรคในกรณีที่ไม่ได้รับวัคซีนตั้งแต่แรกเกิด สามารถรับวัคซีนได้ทันทีโดยไม่จำกัดช่วงอายุ โดยฉีดเพียงแค่ครั้งเดียว ทั้งนี้ภูมิต้านทานต่อเชื้อวัณโรคจะเกิดขึ้นเต็มที่หลังจากได้รับวัคซีนประมาณ 2 เดือน

  2. วัคซีนตับอักเสบบี (HB)

    วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนที่ควรได้รับเร็วที่สุด คือ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด หากให้วัคซีนเข็มแรกช้า ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อจะลดลง การรับวัคซีนตับอักเสบควรได้รับวัคซีน 3 เข็ม เมื่อเด็กได้รับวัคซีนเข็มแรกหลังคลอดแล้ว ให้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 เมื่ออายุ 6-7 เดือน (ต้องอายุมากกว่า 24 สัปดาห์)

  3. วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP)

    วัคซีนรวมในกลุ่มนี้ เป็นวัคซีนควรได้รับเมื่อเด็กที่มีอายุ 2 เดือน โดยต้องฉีดทั้งหมด 4 เข็ม สำหรับวัคซีน 3 เข็มแรกให้ฉีดห่างกันประมาณ 2 เดือน (ฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน และ 6 เดือน) ฉีดเข็มสุดท้ายเมื่ออายุ 18 เดือน เมื่อฉีดครบ 4 ครั้งแล้ว ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี
    วัคซีนพื้นฐานสำคัญอย่างไร มีอะไรบ้าง

  4. วัคซีนโปลิโอ (OPV)

    วัคซีนโปลิโอเป็นวัคซีนที่เด็กทุกคนควรได้รับเมื่ออายุ 2 เดือน โดยวิธีรับวัคซีนนี้มี 2 วิธี คือ วิธีรับวัคซีนแบบรับประทาน และวิธีรับวัคซีนแบบฉีด
    [spacing size=”5″]วัคซีนแบบรับประทาน (OPV) จะต้องได้รับวัคซีน 4 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน และ 18 เดือน และเมื่อรับประทานครบทั้ง 4 ครั้งแล้ว ให้รับวัคซีนกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี
    [spacing size=”10″]วัคซีนแบบฉีด (IPV) การให้วัคซีนครั้งแรกจะให้ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน และอายุ 4 เดือน และจะให้อีกครั้งเมื่ออายุ 6-18 เดือน หลังจากนั้นจะให้รับวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี

  5. วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR)

    วัคซีนรวมในกลุ่มนี้ เป็นวัคซีนที่ควรได้รับครั้งแรกเมื่ออายุ 9 เดือน แล้วฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน สำหรับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่สองตามอายุดังกล่าว ควรรับวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี

  6. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE)

    วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี เป็นวัคซีนที่เด็กทุกคนควรได้รับเมื่ออายุ 12 เดือน วัคซีนชนิดนี้มีทั้งแบบวัคซีนเชื้อตาย และวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ สำหรับเด็กสามารถเลือกรับวัคซีนแบบใดก็ได้ ยกเว้นวัคซีนที่ชื่อ IXIARO ที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
    วัคซีนพื้นฐานสำคัญอย่างไร มีอะไรบ้าง

  7. วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV)

    วัคซีนมะเร็งปากมดลูก เป็นวัคซีนที่ควรได้รับทั้งชายและหญิงเมื่ออายุ 11 ปี ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สำหรับผู้หญิงควรฉีดวัคซีนในช่วงอายุ 9-26 ปี อาจมีการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ชายอายุ 22-26 ปี เพื่อป้องกันหูดอวัยวะเพศ วัคซีนนี้ต้องฉีด 2 เข็ม ระยะห่างระหว่างเข็มควรฉีดห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน

  8. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)

    วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก เป็นวัคซีนที่เด็กทุกคนควรได้รับเมื่ออายุ 12 ปี

การฉีดวัคซีนเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรค เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ทำให้ไม่ต้องกังวลใจกับโรคติดต่อต่างๆ นอกจากนี้การป้องกันตนเองจากโรคด้วยวัคซีนแล้ว การดูแลตัวเองด้วยวิธีสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคภัย และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

เรียบเรียงข้อมูลจาก