วันอาทิตย์, สิงหาคม 14, 2022
  • Login
168HealthyCare
ADVERTISEMENT
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ
No Result
View All Result
HealthNews
No Result
View All Result

วัคซีนวัณโรค (BCG) ประเภทของวัคซีน วิธีรับวัคซีน อาการข้างเคียง

วัคซีนวัณโรค (BCG) ประเภทของวัคซีน วิธีรับวัคซีน อาการข้างเคียง

Secondary tuberculosis in lungs and close-up view of Mycobacterium tuberculosis bacteria, 3D illustration

รักษาหลุมสิว
395
SHARES
ShareTweet

วัคซีนวัณโรค หรือ วัคซีนบีซีจี (BCG) มีชื่อเต็มว่า Bacillus Calmette-Guerin Vaccine ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามผู้ผลิตวัคซีน คือ Albert Calmette และ Calmille Guerin เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรควัณโรค และจัดเป็นหนึ่งในวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด เพื่อกันการติดเชื้อในวัยเด็ก

สารบัญเนื้อหา

  • 1 ประเภทของวัคซีนวัณโรค
  • 2 วิธีรับวัคซีน
    • 2.1 วิธีรับวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด
    • 2.2 วิธีรับวัคซีนสำหรับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน
  • 3 อาการข้างเคียง

ประเภทของวัคซีนวัณโรค

วัคซีนป้องกันโรควัณโรค (BCG) เป็นวัคซีนประเภทเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (Live Attenuated Vaccine) โดยประกอบด้วยเชื้อของวัณโรคพันธุ์ไมโคแบคทีเรียม โบวิส (Mycobacterium bovis) ที่ยังมีชีวิตอยู่ และถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ สำหรับวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันเป็นวัคซีนชนิดผงแห้ง (freeze-dried)

วัคซีนวัณโรค (BCG) ประเภทของวัคซีน วิธีรับวัคซีน อาการข้างเคียง

วิธีรับวัคซีน

การรับวัคซีนจะทำได้โดยการฉีดเข้าผิวหนัง (intradermal injection) โดยจะฉีดที่บริเวณต้นแขน ไหล่ด้านซ้าย หรือไหล่ด้านขวา ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนบริเวณที่ดูแลผิวหลังการฉีดวัคซีนได้ยาก เช่น สะโพก ต้นแขน และฝ่าเท้า c]tควรเขย่าขวดบรรจุวัคซีนทุกครั้งก่อนใช้งาน

วิธีรับวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด

การรับวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด ให้รับวัคซีนโดยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่บริเวณต้นแขน ส่วนใหญ่มักจะฉีดที่บริเวณด้านซ้าย สำหรับขนาดของวัคซีนที่ใช้จะมีอยู่ 2 ขนาด แบ่งตามชนิดของวัคซีนได้ดังนี้

วัคซีนบีซีจีของสภากาชาดไทย (BCG-TRC) ให้รับวัคซีนขนาดครั้งละ 0.1 มิลลิลิตร

วัคซีนบีซีจีของ Serum Institute of India ให้รับวัคซีนขนาด 0.05 มิลลิลิตร

วิธีรับวัคซีนสำหรับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน

สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนชนิดนี้ สามารถรับวัคซีนได้ในทุกช่วงอายุ โดยฉีดเพียงครั้งเดียว สำหรับขนาดของวัคซีนที่ใช้จะมีอยู่ 2 ขนาด แบ่งตามชนิดของวัคซีนได้ดังนี้

วัคซีนบีซีจีของสภากาชาดไทย (BCG-TRC) ให้รับวัคซีนขนาดครั้งละ 0.1 มิลลิลิตร

วัคซีนบีซีจีของ Serum Institute of India ให้รับวัคซีนขนาด 0.1 มิลลิลิตร

วัคซีนวัณโรค (BCG) ประเภทของวัคซีน วิธีรับวัคซีน อาการข้างเคียง

อาการข้างเคียง

การรับวัคซีนวัณโรคนั้นมีผลข้างเคียงน้อยมาก อาการที่อาจพบได้หลังจากได้รับวัคซีน คือ บริเวณที่ฉีดวัคซีนผิวจะมีลักษณะโป่งนูน อาจจะเกิดตุ่มแดง หรือเป็นฝีเล็กๆ และมีหนอง ซึ่งไม่เป็นอันตรายและสามารถหายเองได้ ผู้รับวัคซีนบางรายอาจมีอาการข้างเคียงมากกว่าปกติ เช่น มีหนองเรื้อรังบริเวณที่ฉีดวัคซีน เป็นฝีต่อมน้ำเหลือง และกระดูกอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อที่กระดูกจากเชื้อในวัคซีน

โรควัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่เป็นปัญหาสุขภาพต่อคนทั่วไป ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา แต่ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่ใช้เวลาในการรักษายาวนาน จึงควรป้องกันตนเองด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งจะช่วยป้องกันวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง (TB meningitis) และวัณโรคชนิดแพร่กระจาย (miliary TB) โดยป้องกันได้ 52-100% ในกรณีข้องการป้องกันวัณโรคปอดจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยอาจช่วยป้องกันโรคได้บ้าง หรืออาจป้องกันไม่ได้เลย คือ ป้องกันโรคได้ 0-80% ทั้งนี้ ภูมิต้านทานต่อวัณโรคจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่หลังจากได้รับวัคซีนประมาณ 2 เดือน

เรียบเรียงข้อมูลจาก

  • สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) – National Vaccine Institute (NVI) (1)
  • สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) – National Vaccine Institute (NVI) (2)
  • สภากาชาดไทย – The Thai Red Cross Society
  • สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
395
SHARES
ShareTweet
Tags: วิธีป้องกันโรค
Next Post
สิวอักเสบรบกวนใจ? มารู้จักวิธีรักษาสิวอักเสบกันเถอะ

สิวอักเสบรบกวนใจ? มารู้จักวิธีรักษาสิวอักเสบกันเถอะ

168HealthyCare

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Advertise & Partners

  • รับทำ SEO
  • เสริมหน้าอก
  • เช็ความเร็วเน็ต
  • จองทะเบียนรถ
  • Contact

Social Network

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • COVID 19
  • เคล็ดลับสุขภาพดี
  • โรคและอาการของโรค
    • COVID19 โควิด19
  • อาหารและยา
  • ครอบครัว
  • ข่าวประกาศ

© Copyright 2018-2020 168HealthyCare.com All rights reserved.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In